ผักบุ้ง ผักช่วยบำรุงสายตา กินผักบุ้งแล้วตาหวาน

ผักบุ้ง ผักช่วยบำรุงสายตา กินผักบุ้งแล้วตาหวาน

ชื่ออื่นๆ :

ต้นกำเนิด : ทวีปเอเซีย

ชื่อสามัญ : ผักบุ้งนา

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomcea aquatica Forsk.

ชื่อวงศ์ : CONVOLVULACEAE

ผักบุ้ง ผักช่วยบำรุงสายตา กินผักบุ้งแล้วตาหวาน
ดอกผักบุ้ง

ลักษณะของผักบุ้ง

ผักบุ้ง เป็นพรรณไม้เลื้อยชนิดหนึ่งที่มีเนื้ออ่อน ลำต้นจะกลวงและเป็นปล้อง ๆ มีสีเขียว จะเลื้อยขึ้นแผ่ตามหน้าน้ำ หรือในที่ลุ่ม ตามพื้นที่มีความชื้น และแฉะ ใบมีสีเขียวเข้ม ลักษณะของใบจะเป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลม จะออกเป็นใบเดี่ยวสลับทางกันตามข้อต้น ใบยาวประมาณ 2-3 นิ้วลักษณะของดอกเป็นรูประฆังเล็ก มีสีม่วงอ่อน ๆ หรือสีชมพู ดอกจะบานเต็มที่ประมาณ 2 นิ้วดอกจะดกในฤดูแล้ง

การขยายพันธุ์ของผักบุ้ง

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/แยกเหง้าปลูกได้เลย

ธาตุอาหารหลักที่ผักบุ้งต้องการ

ประโยชน์ของผักบุ้ง

นำมาทำอาหาร/เลี้ยงสุกร

ผักบุ้ง ผักช่วยบำรุงสายตา กินผักบุ้งแล้วตาหวาน
ต้นผักบุ้ง

สรรพคุณทางยาของผักบุ้ง

ผักบุ้งช่วยบำรุงสายตา ไม่ทำให้ปวดตา สายตาสั้น แสบตา หรือตาแห้ง เป็นเพราะผักบุ้งมีสารที่สามารถเปลี่ยนไปเป็นวิตามิน A  ที่เรียกว่า เบต้า-แคโรทีนเยอะมาก แล้ววิตามิน A นี้เองเป็นสารที่ช่วยบำรุงสายตา และยังช่วยให้ดวงตามีน้ำหล่อเลี้ยงให้ตาเป็นประกาย ไม่แสบ ไม่แห้ง ผักบุ้งมิใช่มีแต่วิตามิน A เท่านั้น วิตามิน C ก็มีไม่น้อยเหมือนกัน แต่ถ้าอยากได้วิตามิน C จากผักบุ้ง ก็ต้องกินผักบุ้งดิบ ทั้งวิตามิน A และวิตามิน C รวมถึงเบต้า-แคโรทีน เป็นวิตามินที่ช่วยป้องกันมะเร็งได้ด้วย นอกจากวิตามินแล้ว ผักบุ้งยังมีเกลือแร่ มีธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงเลือด อีกทั้งแคลเซียม และฟอสฟอรัสที่ช่วยบำรุงกระดูกและฝัน เป็นต้น ผักบุ้งยังช่วยในการขับถ่ายอีกด้วย เพราะผักบุ้งมีใยอาหาร เรียกได้ว่าประโยชน์ของผักบุ้งมีมากมาย และเหมาะกับคนทุกวัย แต่ใช่ว่าผักบุ้งจะรับประทานเป็นอาหารได้เพียงอย่างเดียว ยังสามารถรับประทานเป็นยาได้ด้วย ในผักบุ้งมีสารชนิดหนึ่งที่มีโครงสร้างคล้ายอินซูลินที่สามารถลดน้ำตาลในกระแสเลือดสำหรับคนเป็นโรคเบาหวาน และผักบุ้งเป็นผักที่มีฤทธิ์เย็นจึงช่วยบรรเทาอาการร้อนในได้ (แต่ไม่ควรทานผักบุ้งผัดน้ำมัน เพราะเวลาร้อนในควรจะเลี่ยงอาหารมันๆ) ควรทานผักบุ้งลวกจะดีกว่า แต่ในทางกลับกัน ถ้าทานผักบุ้งมากเกินไปก็จะทำให้ปวดเมื่อยขา และเข่าได้เหมือนกัน ผักบุ้งที่ทานกันอยู่มี 2 ประเภท คือ ผักบุ้งไทย และผักบุ้งจีน ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งอื่น แต่สำหรับผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า-แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งอื่น

คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้ง

  • คุณค่าทางโภชนาการของผักบุ้งต่อ 100 กรัม
  • พลังงาน 19 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 3.14 กรัม
  • เส้นใย 2.1 กรัม
  • ไขมัน 0.2 กรัม
  • โปรตีน 2.6 กรัม
  • วิตามินเอ 315 ไมโครกรัม 39%
  • วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี2 0.1 มิลลิกรัม 8%
  • วิตามินบี3 0.9 มิลลิกรัม 6%
  • วิตามินบี5 0.141 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี6 0.096 มิลลิกรัม 7%
  • วิตามินบี9 57 ไมโครกรัม 14%
  • วิตามินซี 55 มิลลิกรัม 66%
  • ธาตุแคลเซียม 77 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุเหล็ก 1.67 มิลลิกรัม 13%
  • ธาตุแมกนีเซียม 71 มิลลิกรัม 20%
  • ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 39 มิลลิกรัม 6%
  • ธาตุโพแทสเซียม 312 มิลลิกรัม 7%
  • ธาตุโซเดียม 113 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม 2%

การแปรรูปของผักบุ้ง

ผักบุ้งสามารถนำมาแปรรูปเป็นเมนูอาหารได้หลากหลาย เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง, แกงเทโพ, ผักบุ้งผัดน้ำมันหอย เป็นต้น

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับผักบุ้ง

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : upload.wikimedia.org, www.aliexpress.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

4 Comments

Add a Comment