ผักปลาบ หญ้าปล้องขน ผักปลาบน้ำ ผักปลาบดง

ผักปลาบ

ชื่ออื่นๆ : ผักปลาบดอย (เชียงใหม่), ผักเบี๋ยว (เชียงราย) ผักปลาบดง, หญ้าปล้องขน (นครราชสีมา) ผักปลาบ (ภาคกลาง) รูปุกาเต๊มูแร (มาเลย์-ปัตตานี)

ต้นกำเนิด : ทวีปเอเชีย พบได้ตั้งแต่อินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ลาว เกาหลี เวียดนาม ญี่ปุ่น

ชื่อสามัญ : Benghal dayflower, Dayflower, Tropical spiderwort, Wondering jew

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Commelina bengalensis L

ชื่อวงศ์ : Commelinaceae

ลักษณะของผักปลาบ

ต้น เป็นพืชอายุปีเดียว ลำต้นอวบน้ำทอดเลื้อยไปตามพื้นดินปลายยอดชูตั้งขึ้น สูง 65-85 เซนติเมตร ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.1 – 3.5 มิลลิเมตร

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปไข่ (ovate) หรือ รูปรี(elliptic) กว้าง 1.0- 3.5 เซนติเมตร ยาว 1.7 – 8.0 เซนติเมตร โคนใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นยาว 0.8 – 1.6 เซนติเมตร ขอบใบมีขนครุย (ciliate) มีใบประดับสีเขียวหุ้มช่อดอก ตามลำต้นแผ่นใบทั้งสองด้านและ หลังใบประดับ (bract) จะมีขนละเอียดสั้นๆ ปกคลุมหนาแน่น

ดอก ดอกแบบช่อกระจุก (cymose) ออกดอกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ สีเขียวอ่อนใส กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน อับเกสรเพศผู้มี 6 อัน ซึ่ง 4 อัน เป็นหมันจะมีสีเหลืองสด อีก 2 อัน ไม่เป็นหมันจะมีสีม่วงเข้ม ยอดและก้านเกสรเพศเมียและก้านชูอับเรณูสีม่วงอ่อน พบออกดอกช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พบบริเวณที่ร่มริมน้ำและพื้นที่น้ำขังแฉะ

ผักปลาบ
ผักปลาบ ลำต้นทอดเลื้อยตามพื้นดิน

การขยายพันธุ์ของผักปลาบ

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักปลาบต้องการ

ประโยชน์ของผักปลาบ

  • เป็นอาหารสัตว์ เช่น โค กระบือ
  • เป็นสมุนไพร ยาพื้นบ้านอีสานใช้ส่วนเหนือดิน เป็นยาเย็น แช่น้ำอาบ แก้ไข้
  • ตำรายาไทยใช้ทั้งต้น ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบาย แก้โรคเรื้อน แก้ปวดเมื่อย ถ่ายปัสสาวะ สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบที่ทำให้เป็นกรดมี ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa, Staphylococcus albus และมีฤทธิ์แรงมากต่อเชื้อ Escherichia coli, Klebsiella
ดอกผักปลาบ
ดอกผักปลาบ กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน

สรรพคุณทางยาของผักปลาบ

  • ทั้งต้นใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่นเพื่อใช้เป็นยารับประทานสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตรแล้ว (ทั้งต้น)
  • น้ำคั้นจากต้นใช้หยอดตาแก้เจ็บตา (ต้น)
  • ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาช่วยทำให้เจริญอาหาร (ทั้งต้น)
  • ใช้เป็นยาระบาย (ทั้งต้น)
  • ช่วยแก้โรคเรื้อน แก้อาการระคายเคืองที่ผิวหนัง (ทั้งต้น)
  • ทั้งต้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวด (ทั้งต้น)
  • ชาวเมี่ยนจะใช้ใบผักปลาบนำมาต้มกับน้ำอาบสำหรับรักษาคนที่ป่วยกระเสาะกระแสะ เป็น ๆ หาย ๆ ช่วยทำให้หายป่วย (ใบ)
  • บางข้อมูลระบุสรรพคุณนอกเหนือจากที่กล่าวมาว่า ทั้งต้นมีรสเฝื่อน เป็นยาแก้ปวดขัดปัสสาวะ ช่วยในการย่อย และแก้ผื่นคัน (ข้อมูลต้นฉบับไม่มีแหล่งอ้างอิง)

สารออกฤทธิ์ที่พบ ได้แก่ โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและสารแอนโทไซยานินที่มีความเสถียรเป็นพิเศษ (Brouillard, 1981; Teh and Francis, 1988)

คุณค่าทางโภชนาการของผักปลาบ

คุณค่าทางอาหารของผักปลาบ จะประกอบไปด้วย

  • โปรตีน 20%
  • แคลเซียม 1.1%
  • ธาตุเหล็ก 573 ppm
  • ฟอสฟอรัส 0.3%
  • โพแทสเซียม 3.9%
  • ADF 41%
  • NDF 50%
  • ไนเตรท 645 ppm และไม่พบไนไตรท์และออกซาลิกแอซิด

การแปรรูปของผักปลาบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10559&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment