ผักปอดนา พบในนาข้าว ภายหลังการดำนา ต้นอ่อนใช้เป็นผักบริโภคได้

ผักปอดนา

ชื่ออื่นๆ : ผักปอด (phak pot) ผักปอดนา ผักปุ่มปลา (ไทย) ผักกุ่มป๋า ผักจุ๋มป๋า ผักกาดนา (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : gooseweed

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sphenoclea zeylanica Gaertn.

ชื่อวงศ์ : SPHEBOCLEACEAE

ลักษณะของผักปอดนา

เป็นพืชล้มลุกขึ้นในน้ำ อายุปีเดียว (annual) ต้นอวบน้ำ ลำต้นตั้งตรง สูง 20-70 ซม. มักแตกแขนงจำนวนมาก ภายในมีช่องอากาศอยู่โดยรอบ มีนมสีขาวๆ คล้ายฟองน้ำ หุ้มรอบโคนต้นตรงส่วนที่แช่นํ้า
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับข้างกัน ก้านใบสั้น ยาว 2-10 มม. ใบยาวเรียว ยาว 2.5-16 ซม. กว้าง 0.5-1.5 ซม. โคนใบแคบ ปลายใบทู่ บางครั้งแหลม ขอบใบเรียบ
ดอก ออกเป็นช่อ (spike) รูปทรงกระบอกยาว 0.75-1.5 ซม. ดอกย่อยมีขนาดเล็ก และไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวติดกันที่ฐาน ปลายแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ที่ขอบมีสีขาว กลีบดอกติดกันเป็นรูปถ้วย สีขาว ตรงปลายแยกเป็น 5 แฉก เกสรตัวผู้ 5 อัน ก้านสั้นมาก ติดอยู่กับกลีบดอก อับละอองเรณู 2 เซล แตก ตามยาว เกสรตัวเมียมีรังไข่เชื่อมกับฐานดอกครึ่งหนึ่ง รังไข่แบ่งออกเป็น 2 ช่อง มีท่อรังไข่สั้นๆ 1 อัน
ผล (capsule) มีลักษณะค่อนข้างกลมแบน ขนาดเส้นผ่า ศูนย์กลาง 4-5 มม. เมื่อแก่จะแตกออกโดยรอบเป็นวงกลม คล้ายกับเปิดฝาภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
เมล็ด มีขนาดเล็ก สีเหลืองใส ผิวขรุขระ

ผักปอดนา
ผักปอดนา ต้นอวบน้ำ ลำต้นตั้งตรง ใบเดี่ยว ออกสลับข้างกัน

การขยายพันธุ์ของผักปอดนา

เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักปอดนาต้องการ

ประโยชน์ของผักปอดนา

พบในนาข้าว ภายหลังการดำนา ต้นอ่อนใช้เป็นผักบริโภคได้ ส่วนใหญ่ใช้จิ้มกับน้ำพริก

สรรพคุณทางยาของผักปอดนา

ต้น แก้บาดทะยักปาดมดลูก
ใบ ขับเสมหะ ขับเหงื่อ แก้ท้องมาน แก้ริดสีดวง
ราก แก้โลหิตพิการ ขับลม แก้ไข้จับ

คุณค่าทางโภชนาการของผักปอดนา

การแปรรูปของผักปอดนา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10567&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment