ผักหวานป่า
ชื่ออื่นๆ : ผักหวาน
ต้นกำเนิด : ประเทศศรีลังกา อินเดีย จนถึงทางตอนใต้ของประเทศจีน
ชื่อสามัญ : ผักหวานป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melientha suavis Pierre
ชื่อวงศ์ : Opiliaceae
ลักษณะของผักหวานป่า
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นที่โตเต็มที่อาจสูงถึง 13 เมดร แค่ที่พบโดยทั่วไปมักมีลักษะเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก หรือเป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่ง เด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค
ใบ ใบของผักหวานป่าเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน ใบอ่อนรูปร่างแคบรี ปลายใบแหลม สีเขียวอมเหลือง ใบแก่เต็มที่รูปร่างรีกว้าง ถึงรูปไข่หรือรูปไข่กลับ ใบสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ ขอบใบเรียบ ปลายใบมน ขนาดของใบประมาณ 2.5-5 ซม. x 6- 12 ซม. ก้านใบสั้น
ดอก ช่อดอกแตกกิ่งก้านคล้ายช่อดอกมะม่วงหรือลำใย และเกิดตามกิ่งแก่ หรือตามลำต้นที่ใบร่วงแล้ว ดอกมีขนาดเล็กเป็นตุ่มสีเขียวอัดกันแน่นเป็นกระจุก ขณะที่ยังอ่อนอยู่
ผล ผลเป็นผลเดี่ยว ติดกันเป็นพวง เหมือนช่อผลของมะไฟหรือลางสาด แต่ละผลมีขนาดประมาณ 1.5 x 2.5 ซม. ผลอ่อนสีเขียวมีนวลเคลือบ และเปลี่ยนเป็นสีเหลืองถึงหลืองอมส้ม เมื่อผลสุกแต่ละผลมีเมล็ดเดียว
การขยายพันธุ์ของผักหวานป่า
การตอนกิ่ง, การเพาะชำไหล, การเพาะเมล็ด
วิธีการปลูกแบ่งได้ 3 วิธี คือ
1. การตอนกิ่ง การตอนกิ่งของผักหวานป่าใช้เวลานาน คือ ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป ผักหวานป่าจะออกรากสีน้ำตาล วิธีนี้มีข้อดี คือ กิ่งที่ได้จะมีขนาดใหญ่ตามความต้องการ
2. การเพาะชำ โดยการขุดไหลผักหวานป่าที่เกิดจากต้นแม่ หรือตัดรากผักหวานป่าที่อยู่ในดินซึ่งเป็นรากที่ขยายจากต้นแม่เป็นท่อนๆ ยายประมาณท่อนละ 5 – 6 นิ้ว นำไปเพาะชำประมาณ 1 เดือน จะเริ่มแตกกิ่งและยอด
3. การเพาะเมล็ด นำเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่าที่แก่เต็มที่ขูดเนื้อหุ้มเมล็ดทิ้งและขัดล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำแยกเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้ง นำเมล็ดที่จมน้ำขึ้นผึ่งให้สะเด็ดน้ำคลุกด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อรากันรา นำใส่กระด้งหรือตะแกรงคลุมด้วยกระสอบป่านที่ชุบน้ำหมาดๆ เก็บในที่ร่ม 2 – 3 วัน เมื่อเปลือกเมล็ดเริ่มแตกนำไปเพาะในถุงพลาสติก ไม่ควรเจาะถุงพลาสติกด้านล่าง เพราะรากจะแทงลงดิน กดเมล็ดให้จมเสมอผิวดินนำไปไว้ใต้ร่มเงาพรางแสง 40 – 50 % เมื่อผักหวานป่าอายุ 2 เดือนครึ่ง ต้นผักหวานป่าจะสูงประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 15 – 15 – 15 ผสมน้ำฉีดพ่นทุก 2 อาทิตย์ เมื่อกล้าผักหวานป่าอายุได้ 3 – 4 เดือน สามารถย้ายปลูกได้ในช่วงนี้ รดน้ำให้น้อยลงและให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดที่เพิ่มขึ้นทีละน้อย ละลายปุ๋ยโปแตสเซียมไนเตรท ความเข้มข้นไม่เกิน 2 % รดต้นกล้าก่อนย้ายปลูกประมาณ 2 อาทิตย์ และงดให้น้ำ 1 วัน ก่อนย้ายปลูก ควรเตรียมหลุมปลูกในช่วงเดือนเมษายน โดยขุดหลุมปลูกขนาด 20 x 20 x 50 เซนติเมตร ระยะปลูก 2 x 2 เมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักครึ่งปี๊บ ผสมกับหน้าดิน ฉีกหรือถอดถุงกล้าผักหวาน ระวังอย่าให้ดินแตกและรากขาด วางต้นกล้าลงกลางหลุมให้ต้นกล้าสูงกว่าปากหลุมประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วพูนดินกลบโคนโดยรอบ ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว โดย หว่านกระจายโดยรอบโคนต้นรัศมี 20 เซนติเมตร ต้นละปี๊บ ในช่วงฤดูฝน ปีละครั้งไม่ควรใช้จอบขุดพรวนรอบโคนต้น
เมื่อผักหวานมีอายุ 3 ปี จะเริ่มให้ผลผลิต ตัดยอดอ่อนทีแตกออกยาวประมาณ 15 – 25 เซนติเมตรมาบริโภคหรือจำหน่าย
ธาตุอาหารหลักที่ผักหวานป่าต้องการ
–
ประโยชน์ของผักหวานป่า
- ผักหนาวป่าจัดเป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีน วิตามินซี และพลังงาน นอกจากนี้ยังมีปริมาณเยื่อใยพอสมควร ช่วยในการขับถ่ายให้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามการบริโภคผักหวานป่าควรปรุงให้สุกเสียก่อน เนื่องจากการบริโภคสด ๆ ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการเบื่อเมาเป็นไข้ และอาเจียนได้
- การนำผักหวานป่ามาปรุงอาหารนั้นใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นยอดและใบอ่อน นำช่อผลอ่อน ๆ สำหรับผลแก่อาจลอกเนื้อทิ้งนำเมล็ดไปต้มรับประทานได้เช่นเดียวกับเมล็ดขนุน มีรสหวานมัน การปรุงอาหารจากผักหวานป่า นอกจากต้ม ลวก เป็นผักจิ้มน้ำพริกแล้ว อาจนำไปทำแกง แกงเลียง หรือต้มจืดได้
สรรพคุณทางยาของผักหวานป่า
- ผักหวานป่าเป็นอาหารและยาประจำฤดูร้อนที่ช่วยแก้อาการของธาตุไฟได้ตามหลักแพทย์แผนไทย
- ใบและรากมีสรรพคุณแก้อาการปวดศีรษะ (ใบและราก)
- รากมีรสเย็น เป็นยาแก้ไข้ สงบพิษไข้ (ราก)
- ส่วนยอดใช้ปรุงเป็นยาเขียวลดไข้ ลดความร้อน (ยอด)
- รากเป็นยาเย็น สรรพคุณเป็นยาแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ แก้กระสับกระส่าย (ราก)
- รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาเย็นแก้พิษร้อนใน (ราก)
- ส่วนยอดมีรสหวานกรอบช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ระบายความร้อน (ยอด)
- ยางใช้กวาดคอเด็ก แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว (ยาง)
- ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ใบและราก)
- รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดมดลูกของสตรี (ราก)
- รากใช้ต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้น้ำดีพิการ (ราก)
- ช่วยแก้ดีพิการ แก้เชื่อมมัว (ราก)
- ใช้รักษาแผล (ใบและราก)
- ช่วยแก้อาการปวดในข้อ (ใบและราก)
- ใช้แก่นของต้นผักหวาน นำมาต้มกับน้ำรับประทานเป็นยาแก้อาการปวดตามข้อหรือปานดง (แก่น)
- ใช้ต้นผักหวานกับต้นนมสาวเป็นยาเพิ่มน้ำนมแม่หลังการคลอดบุตรได้ (ต้น)
คุณค่าทางโภชนาการของผักหวานป่า
ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย
- น้ำ 76.6 กรัม
- โปรตีน 8.2 กรัม
- คาร์โบไฮเดท 10 กรัม
- เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม
- แคโรทีน 1.6 มก.
- วิตามินซี 115 มก.
- ค่าพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)
การแปรรูปของผักหวานป่า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9542&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
http://www.bannongphi.ac.th
https://www.flickr.com
เมนู อาหารอร่ยๆ ทำจากผักหวาน
– ผักหวานต้มไข่มดแดง
– ผักหวานผัดกุ้ง
– ยำผักหวาน
– ผักหวานน้ำมันหอย
– ต้มจืดใส่ผักหวาน