ผักหอมแย้ เป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน อยู่ในตระกูลผักชี นำไปรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหารใส่แกง

หอมแย้

ชื่ออื่นๆ : ผักหอมแย้, ยำแย้, ลำแย้, ผักสะแงะ, แสงะ, อีแงะ, ผักชีไร่

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trachyspermum roxburghianum (DC.) Craib

ชื่อวงศ์ : UMBELLIFERAE

ลักษณะของหอมแย้

ต้น : ไม้ล้มลุกลำต้นตรงภายในกลวง ไม่ค่อยแตกกิ่ง สูงประมาณ 10-30 ซม.

ใบ : ใบเดี่ยวขอบใบหยักเว้าเข้าหาเส้นกลางใบ คล้ายใบผักชีแต่มีสีเขียวเข้มกว่า

ดอก : เป็นดอกช่อออกที่ปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กมี 5 กลีบสีขาว

เมล็ด : เล็กกว่าเมล็ดผักชีสีน้ำตาล หัวท้ายแหลม

หอมแย้
หอมแย้ ขอบใบหยักเว้าเข้าหาเส้นกลาง สีเขียวเข้ม

การขยายพันธุ์ของหอมแย้

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หอมแย้ต้องการ

ประโยชน์ของหอมแย้

เป็นผักที่มีกลิ่นหอมฉุน อยู่ในตระกูลผักชี ยอดอ่อน ใบ ต้น นำไปรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหารใส่แกงต่างๆ เช่น แกงหน่อไม้ แกงลาว แกงหวาย แกงแค

ดอกหอมแย้
ดอกหอมแย้ ดอกช่อออกที่ปลายยอด สีขาว ชมพู

สรรพคุณทางยาของหอมแย้

ขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการปวดบวม บำรุงสายตา

คุณค่าทางโภชนาการของหอมแย้

การแปรรูปของหอมแย้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9922&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment