ผักเบี้ยใหญ่
ชื่ออื่นๆ : ผักเบี้ยดอกเหลือง, ผักตาโค้ง (นครราชสีมา) ผักอีหลู, ตะก้ง (อุบลราชธานี) แบขี่เกี่ยง, ตือบ้อฉ่าย (จีน-แต้จิ๋ว)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Pigweed Purslane
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Portulaca oleracea Linn.
ชื่อวงศ์ : PORTULACACEAE
ลักษณะของผักเบี้ยใหญ่
ต้น เป็นพืชล้มลุกอวบน้ำ ขึ้นแผ่เรียบไปกับดินบางครั้งอาจชูตั้งได้ ต้นยาว 20-30 ซ.ม. มีลำต้นสีเขียวหรือสีม่วงแดง ก้านกลมแตกกิ่งก้านสาขาแผ่ออกไป
ใบ ใบออกตรงข้ามกัน ตรงใบรูปคล้ายลิ้น มีก้านใบสั้น ใบหนาผิวเรียบเป็นมัน ยาว 1-3 ซ.ม. กว้าง 5-15 ม.ม. ปลายใบมนมีรอยเว้าเข้าเล็กน้อย ฐานใบเรียวเล็กลงจนไปติดกับลำต้น ด้านหลังใบมีสีเขียวแก่ ท้องใบมีสีแดงเข้ม
ดอก ดอกมี 2 เพศ อยู่ในดอกเดียวกัน ขนาดเล็ก สีเหลืองสด โดยทั่วไปมักออกเป็นกลุ่ม 3-5 ดอก กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ เป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็กช้อนกันเป็นคู่ๆ กลีบดอกมี 5 กลีบ สีเหลืองสด แต่ละกลีบเป็นรูปหัวใจคว่ำ ลงที่ปลายกลีบ ดอกมีรอยเว้าเข้า เกสรตัวผู้มี 8-12 อัน รังไข่มี 1 ห้อง ปลายแยกออกเป็นเส้นบางๆ 4-6 เส้น ออกดอกตลอดปี
ผล รูปทรงกลมเมื่อแก่สีน้ำตาลแล้วแตกออก ภายในมีเมล็ดมากสีเทาดำ บนเปลือกเมล็ดมีจุดกระมักพบขึ้นเองตามริมถนน ข้างทางเดิน หรือที่ชื้นแฉะและที่รกร้างทั่วไป
การขยายพันธุ์ของผักเบี้ยใหญ่
ใช้กิ่ง/ลำต้น
ธาตุอาหารหลักที่ผักเบี้ยใหญ่ต้องการ
ประโยชน์ของผักเบี้ยใหญ่
ผักเบี้ยใหญ่มีรสเปรี้ยว นิยมกินเป็นผักสด ผักสลัด หรือนำมาต้ม ลวก กินร่วมกับน้ำพริก
สรรพคุณทางยาของผักเบี้ยใหญ่
- ใบ แก้ไอแห้ง แก้ขัดเบา แก้กระหายน้ำ รักษาแผลอักเสบบวม เมล็ด ขับพยาธิ ทั้ง 5 แก้เหงือกบวม แก้เจ็บคอ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้บิดถ่ายเป็นเลือด แก้หนองใน รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลเรื้อรัง
ยานี้มีรสเปรี้ยว เย็น ใช้แก้ร้อน ดับพิษ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้บิดถ่ายเป็นเลือด หนองในแผลบวมอักเสบ ฝีประคำร้อย หล่อลื่นลำไส้ แก้ริดสีดวงทวารแตกเลือดออก ใช้ภายนอก แก้บวมและแผลเปื่อยเน่ามีหนอง
วิธีและขนาดที่ใช้
ใช้ต้นแห้งหนัก 10-15 กรัม (ต้นสดหนัก 60-120 กรัม) ต้มเอาน้ำ หรือคั้นเอาน้ำกิน ใช้ภายนอก ผิงไฟให้แห้งลบดเป็นผงผสมน้ำทา หรือต้มเอาน้ำชะล้างบริเวณที่เป็น
ข้อห้ามใช้
คนธาตุอ่อนท้องเสียง่าย และหญิงมีท้องห้ามใช้ และห้ามใช้ร่วมกับกระดองตะพาบน้ำ
คุณค่าทางโภชนาการของผักเบี้ยใหญ่
การแปรรูปของผักเบี้ยใหญ่
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11798&SystemType=BEDO
www.flickr.com