ผักเป็ดไทย
ชื่ออื่นๆ : ผักเป็ดแดง, ผักเป็ดขาว (ภาคกลาง) ผักเปี๋ยวแดง (ภาคเหนือ) ผักเป็ด, ผักเป็ดไทย (ไทย) ผักหอม, บะอุ่ม, บ่ะดิเยี่ยน (ลั้วะ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : mukunuwenna
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alternanthera sessilis (L.) R.Br. ex DC
ชื่อวงศ์ : Amaranthaceae
ลักษณะของผักเป็ดไทย
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกลำต้นตั้งตรง หรืออาจจะเลื้อยแล้วแต่สภาพแวดล้อม ตามข้อของต้นจะ มีรากขึ้น ลำต้นสูงประมาณ 0.5-3 ฟุต มีทั้งสีแดง สีขาวอมเขียว
ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวจะออกตามข้อของต้น ซึ่งลักษณะของใบและขนาดของใบนั้น จะไม่เหมือนกันและ ไม่เท่ากัน มันจะขึ้นอยู่กับสภาพดินด้วย จะมีทั้งแบบใบแคบยาวเรียวแหลม ปลายแหลมปลายมน และไข่กลับ ถ้าดินที่ปลูกแห้งแล้งใบจะเล็ก ถ้าแฉะใบก็จะใหญ่สมบูรณ์ ใบมีสีเขียว ก้านใบสั้นมาก ประมาณ 1-5 มม.
ดอก ออกเป็นช่อกลมๆ อยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาว 0.5-1 ซม. ไม่มีก้านดอกแต่เมื่อดอกร่วงโรยไปจะดูเหมือนกับมีก้านดอก ดอกสีขาวหรือม่วงแดงมี 5 กลีบ ในแต่ละดอกมีใบประดับเป็นเยื่อบางๆ สีขาว 2 อัน
ผล ผลมีรูปร่างคล้ายรูปไต แต่มีขนาดเล็กมากกว้าง 2 มม. ยาว 3 มม. ซึ่งผลนี้จะร่วงโรยพร้อมกับกลีบดอก
การขยายพันธุ์ของผักเป็ดไทย
ใช้กิ่ง/ลำต้น
ธาตุอาหารหลักที่ผักเป็ดไทยต้องการ
ประโยชน์ของผักเป็ดไทย
ยอดและใบสามารถนำมาประกอบอาหารได้
สรรพคุณทางยาของผักเป็ดไทย
ลำต้นและใบ แก้พิษงู ทั้ง 5 แก้ไข้ ขับน้ำนม พอกแผล ฟอกโลหิต แก้ประจำเดือนขัดข้อง บำรุงโลหิต แก้ปวดเอว แก้ท้องเสีย รักษาโรคบิด แก้ท้องร่วง เป็นยาลดไข้
คุณค่าทางโภชนาการของผักเป็ดไทย
การแปรรูปของผักเป็ดไทย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11800&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com