ผักเสี้ยน วัชพืชตามไร่นาสรรพคุณทางยา

ผักเสี้ยน

ชื่ออื่นๆ : ผักเสี้ยนขาว, ผักเสี้ยนไทย, ผักเสี้ยนบ้าน, ผักเสี้ยนตัวผู้ (ภาคกลาง) ส้มเสี้ยน, ผักส้มเสี้ยน (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : spider weed

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleome gynandra L

ชื่อวงศ์ : Cleomaceae

ลักษณะของผักเสี้ยน

ต้น ผักเสี้ยนเป็นไม้ล้มลุก เนื้ออ่อน สูงไม่เกิน 1 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง ตามลำต้นและกิ่งก้านมีต่อมขนอ่อนปกคลุม

ใบ ใบเป็นแบบมือ ประกอบด้วยใบย่อย 3-5 ใบ ก้านใบยาว ออกสลับกันบนกิ่ง

ดอก ดอกออกเป็นช่อปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว หรือเหลือบม่วง ดอกมีลักษณะเป็นเส้นยาวเล็กคล้ายเสี้ยน จึงชื่อผักเสี้ยน

ผล ผลเป็นลักษณะฝักยาวทรงกระบอกปลายแหลม มีจะงอยตรงปลาย เมล็ดสีน้ำตาลดำขนาดเล็ก มีจำนวนมาก

แหล่งที่พบผักเสี้ยน มักพบขึ้นเป็นวัชพืชตามท้องไร่ปลายนา ที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป และริมลำธาร

ต้นผักเสี้ยน
ต้นผักเสี้ยน แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกว้าง ตามลำต้นและกิ่งก้านมีต่อมขนอ่อนปกคลุม
ใบผักเสี้ยน
ใบผักเสี้ยน ใบเป็นแบบมือ ประกอบด้วยใบย่อย 3-4 ใบ

การขยายพันธุ์ของผักเสี้ยน

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักเสี้ยนต้องการ

ประโยชน์ของผักเสี้ยน

  • ผักเสี้ยนทั้งห้า (ต้น ใบ ดอก เมล็ด ราก) : รสร้อน แก้ปวดท้อง ลงท้อง แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ ในตำราแพทย์แผนไทยมีคำเรียกผักเสี้ยนทั้งสอง หมายถึง ผักเสี้ยนกับผัก เสี้ยนผีรวมกัน ในอินเดียใช้เมล็ดผักเสี้ยน สกัดทำเป็นยากำจัดแมลง
  • ในแอฟริกาใช้ยอดและใบอ่อนของผักเสี้ยนปรุงรสและกลิ่นซอสในอินโดนีเซียใช้เลี้ยงสัตว์ และใช้เมล็ด เป็นอาหาร ผักเสี้ยนเป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากของธรรมดาสามัญที่มีอยู่ทั่วไป หาได้ง่าย ให้เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นคนธรรมดาหรือสามัญชน แนวทางดังกล่าวนี้ น่าจะเป็นทิศทางหลักของการพัฒนาทรัพยากรของประเทศ ทั้งด้านการเกษตร อาหาร ยารักษาโรค หรือปัจจัยสำหรับชีวิตด้านอื่นๆ
ดอกผักเสี้ยน
ดอกผักเสี้ยน กลีบดอกสีขาว หรือเหลือบม่วง

สรรพคุณทางยาของผักเสี้ยน

  • ต้น : กลิ่นฉุนร้อน แก้เลือด ระดูเน่าเสียที่ทำให้จับสั่นสะท้าน
  • ใบ : บำรุงเสมหะให้เป็นปกติ
  • ดอก : แก้เลือดสตรีอันอยู่ในเรือนไฟ
  • เมล็ด : ฆ่าไส้เดือน (พยาธิ) ในท้อง
  • ราก : แก้ลมอันเป็นพิษ

คุณค่าทางโภชนาการของผักเสี้ยน

การแปรรูปของผักเสี้ยน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11801&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment