ผักแมะ มีรสชาติขมอมหวาน นิยมนำยอดอ่อนและผลอ่อนไปปรุงเป็นอาหาร

ผักแมะ

ชื่ออื่นๆ : ผักแมะ, แหมะ, ยอง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : กระยอง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica subangulata Blume

ชื่อวงศ์ : CUCURBITACEAE

ลักษณะของผักแมะ

ต้น  ไม้ล้มลุกกึ่งเถาเลื้อย ไม้เถา ยาว 1–3 ม. มีหัวใต้ดิน

ใบ ใบจัก 3–5 แฉกตื้น ๆ หรือเรียบ รูปไข่ ยาวได้ถึง 20 ซม. ปลายแหลมหรือแหลมยาว โคนรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อย ปลายขอบจักมีติ่ง ก้านใบยาว 2–6 ซม

ดอก ดอกสีเหลืองขนาดเล็กประมาณ 1.5 ซม. คล้ายดอกบวบแต่เล็กกว่าออกจากข้อ

ผล ผลทรงรี  มีหนามเล็กน้อยที่ผิวผล ผลดิบสีเขียวเมื่อสุกสีส้ม

ผักแมะ
ผักแมะ ไม้เถา โคนใบรูปหัวใจ ขอบจักฟันเลื่อย ดอกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของผักแมะ

ใช้เมล็ด, ใช้หัว

ธาตุอาหารหลักที่ผักแมะต้องการ

ประโยชน์ของผักแมะ

ยอดอ่อนและผลอ่อนลวก หรือลวกกะทิจิ้มน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงเลียง แกงกะทิ แกงเผ็ด มีรสชาติขมอมหวาน

ผลผักแมะ
ผลผักแมะ ผลทรงรี ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีส้ม

สรรพคุณทางยาของผักแมะ

คุณค่าทางโภชนาการของผักแมะ

การแปรรูปของผักแมะ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9589&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th

Add a Comment