ผักโขมสวน ยอดอ่อน ใบอ่อน นำมารับประทานเป็นผัก นิยมปลูกเพื่อปรับภูมิทัศน์

ผักโขมสวน

ชื่ออื่นๆ : ผักโขมขาว, ผักขมจีน, ผักโขมสี, ผักโขมหนาม, ผักโหมใหญ่, ผักโหมหนามผักหมพร้าว, ผักขมเกี้ยว, ผักโหมป๊าว, ผักขมใบใหญ่

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Joseph’s Coat

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus tricolor Linn.

ชื่อวงศ์ : AMARANTHACEAE

ลักษณะของผักโขมสวน

ต้น เป็นพืชล้มลุกฤดูเดียวลำต้นสีเขียว สูง 30 – 100 ซม. ลำต้นอวบน้ำสีเขียวอ่อนโคนต้นสีน้ำตาลแดง

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีถึงรูปไข่ มีความกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ปลายใบมน ส่วนโคนใบสอบ ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย และใบที่ส่วนของปลายยอดจะมีอยู่หลายสีขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ เช่น สีแดงสด สีม่วงแดง สีเหลืองทอง เป็นต้น

ดอก ดอกเป็นช่อยาวสีขาว ดอกช่อออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกย่อยเรียงตัวอัดแน่น

เมล็ด มีขนาดเล็ก กลมสีดำ

ผักโขมสวน
ผักโขมสวน ลำต้นอวบน้ำสีเขียวอ่อนโคนต้นสีน้ำตาลแดง

การขยายพันธุ์ของผักโขมสวน

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ผักโขมสวนต้องการ

ประโยชน์ของผักโขมสวน

  • ยอดอ่อน ใบอ่อน นำมารับประทานเป็นผัก โดยการทำให้สุก ลวก นึ่ง ต้ม รับประทานกับร่วมกับน้ำพริก ลาบ แกงเลียง เป็นต้น
  • นิยมใช้ปลูกลงแปลงเพื่อปรับภูมิทัศน์
ดอกผักโขมสวน
ดอกผักโขมสวน เป็นช่อยาวสีขาว ดอกช่อออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง

สรรพคุณทางยาของผักโขมสวน

  • ราก ใช้เป็นยาแก้ตกเลือด แก้อาการช้ำใน แก้พิษ แก้อาการแน่นท้อง
  • ใบ ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เนื่องจากผักโขมมีวิตามินเอสูง

คุณค่าทางโภชนาการของผักโขมสวน

การแปรรูปของผักโขมสวน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10562&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment