ต้นไชยา
ชื่ออื่นๆ : ผักชายา ผักโขมต้น ต้นผงชูรส ต้นมะละกอกินใบ ต้นคะน้าเม็กซิโก
ต้นกำเนิด : ถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของประเทศเม็กซิโก ในแถบของคาบสมุทรยูกาตัน พบมีการกระจายพันธุ์อยู่ในกัวเตมาลา และอเมริกากลาง
ชื่อสามัญ : Tree spinach, chaya, chaiya
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cnidoscolus chayamansa McVaugh
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะของไชยา
เป็นไม้พุ่ม อายุหลายปี ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ มีความสูงของลำต้นประมาณ 2-6 ม. เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลมีน้ำยางสีขาวอยู่ภายใน ลักษณะของใบคล้ายกับใบเมเปิ้ล ขอบใบแยกออกเป็น 3-4 แฉก ดอกมีสีขาว ออกดอกเป็นช่อบริเวณปลายกิ่ง ในแต่ละช่อประกอบไปด้วยดอกย่อยจำนวนมาก โดยทั่วไปมักตัดแต่งเป็นทรงพุ่มให้มีความสูงประมาณ 2 ม.
การขยายพันธุ์ของไชยา
การตอนกิ่ง ปักชำ และ เพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักของไชยา
flavonoids , phenolic acids , saponins ,alkaloids
ประโยชน์ของไชยา
- สมุนไพร ก้านและใบ ช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยบำรุงเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล เพิ่มธาตุเหล็กให้กับเลือด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบในเส้นเลือด ช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น บำรุงกระดูก เพิ่มแคลเซียมให้กระดูก รักษาโรคกระดูกพรุน
- อาหาร ลำต้นผักไชยา นำมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ใช้แทนผงชูรสได้ดี ใช้ผสมกับอาหาร ช่วยให้มีรสชาติกลมกล่อม ผักไชยา นิยมนำมารับประทานเป็นอาหารโดยใช้ส่วนของยอดอ่อนและใบ เมื่อเด็ดยอดอ่อนแล้วต้องนำมาปอกเปลือกออก
- ต้นไชยามีพิษ เนื่องจาก มีสารกลูโคไซด์ เป็นสารที่อยู่ในผักไชยาดิบ การนำผักไชยามารับประทานต้องทำให้สุกก่อน เพื่อทำลายฤทธิ์ของสารพิษ ให้นำไปต้ม หรือ ผัด อย่างน้อย 1 นาที และ ห้ามต้มในภาชนะอะลูมิเนียม เพราะ อาจทำให้น้ำพิษ ทำให้ท้องร่วงได้
สรรพคุณทางยาของไชยา
มีฤทธิ์ต้านจุลชีพหลายชนิด ต้านการอักเสบ ช่วยปกป้องหลอดเลือดและหัวใจ ต้านอนุมูลอิสระ เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ เพิ่มการไหลเวียนโลหิต ช่วยย่อยอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด และลดไขมันในเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของไชยา
ผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ใบคะน้าเม็กซิโก 100 ก. ประกอบด้วย
- น้ำ 85.3%
- คาร์โบไฮเดรตรวม 4.2%
- โปรตีน 5.7%, ไขมัน 0.4%
- ใยอาหาร 1.9%
- มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม 199.4 มก.
- โพแทสเซียม 217.2 มก.
- ฟอสฟอรัส 39.0 มก.
- เหล็ก 11.4 มก.
- มีวิตามิน เช่น วิตามินซี 164.7 มก.
- วิตามินเอ 0.085 มก.
นอกจากนี้ยังมีการรายงานว่าคะน้าเม็กซิโกเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าผักใบเขียวอื่นๆ 2-3 เท่า
การแปรรูปของไชยา
นิยมนำมารับประทานคือใบและยอดอ่อน เช่นเดียวกับผักคะน้าหรือผักทั่วๆ ไป เช่น ผัดน้ำมันหอย ชุบแป้งทอด ลวกทำยำหรือจิ้มกับน้ำพริก ผัดเผ็ด ผัดน้ำมันจิ้มน้ำพริก ทำราดหน้า ผัดกับไข่ หรือเนื้อสัตว์ต่างๆ หรือทำแกงส้ม ผงผักชายาสำหรับปรุงอาหาร ผงผักชายาสำหรับชงดื่ม
VDO พามาเก็บผักไชยา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10314&SystemType=BEDO
https://pharmacy.mahidol.ac.th
http://srdi.yru.ac.th
ผัดผสมกับผักอื่นก็น่ากิน