ฝ้ายคำ เป็นไม้ประดับ ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนครนายก

ฝ้ายคำ

ชื่ออื่นๆ : สุพรรณิการ์

ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาใต้

ชื่อสามัญ : Yellow Cotton Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cochlospermum religiosum (L.) Alston

ชื่อวงศ์ : COCHLOSPERMACEAE

ลักษณะของฝ้ายคำ

ต้น ไม้ยืนต้น ผลัดใบ สูง 7-15 ม. เปลือกสีเทาถึงสีน้ำตาลเรียบ กิ่งก้านคดงอ

ใบ ใบเรียงเวียนสลับ ใบเดี่ยว รูปหัวใจ โคนใบเว้าขอบเป็นคลื่น ปลายใบแยกแฉกแหลม ขอบใบมีขนสั้นนุ่ม ใบแก่ร่วงเปลี่ยนเป็นสีออกแดง

ดอก ดอกช่อสีเหลืองออกที่ปลายกิ่ง บานทีละดอก กลีบดอกบางมี 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-8 ซม. เกสรเพศผู้สีเหลืองจำนวนมาก โค้งขนาดไม่เท่ากัน รังไข่มีขน

ผล ผลรูปไข่กลับ กว้าง 2.5-3.0 ซม. ยาว 5-7 ซม. เมื่อแก่แตก 3-5 พู ภายในมีเมล็ดรูปไตสีน้ำตาล หุ้มด้วยปุยขาวคล้ายปุยฝ้าย

ต้นฝ้ายคำ
ต้นฝ้ายคำ เปลือกต้นสีเทาถึงสีน้ำตาลเรียบ
ใบฝ้ายคำ
ใบฝ้ายคำ ใบเว้าขอบเป็นคลื่น ปลายใบแยกแฉกแหลม

การขยายพันธุ์ของฝ้ายคำ

ใช้กิ่ง/ลำต้น/โดยการปักชำ ติดตา

ธาตุอาหารหลักที่ฝ้ายคำต้องการ

ประโยชน์ของฝ้ายคำ

  • ในประเทศไทยนิยมปลูกสุพรรณิการ์เป็นไม้ประดับ โดยได้รับการกำหนดให้เป็นพันธ์ไม้มงคงพระราชทาน ประจำจังหวัดนครนายก พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดพิษณุโลก โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
  • เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก สระบุรี บุรีรัมย์ สุพรรณบุรี และอุทัยธานี
  • เนื้อไม้ ต้มกับแป้งเป็นอาหาร
  • ใบอ่อน ใช้สระผม
ดอกฝ้ายคำ
ดอกฝ้ายคำ ดอกออกเป็นช่อ สีเหลือง

สรรพคุณทางยาของฝ้ายคำ

  • ดอก ใบแห้ง บำรุงกำลัง

คุณค่าทางโภชนาการของฝ้ายคำ

การแปรรูปของฝ้ายคำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10822&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment