พญากาหลง
ชื่ออื่นๆ : พญากาหลง(ตาดำ), โยทะกา, เสี้ยวดอกเหลือง, ชงโคดอกเหลือง (กรุงเทพ)
ต้นกำเนิด : ทวีปแอฟริกา
ชื่อสามัญ : พญากาหลง ST.Thomas Tree / Yellow Orchid Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bauhinia Tomentosa
ชื่อวงศ์ : Caesalpiniaceae
ลักษณะของพญากาหลง
ต้น : ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูงประมาณ 3-4 เมตร แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่มทึบ ใบดก เป็นไม้ใบแฝดออกสลับกันตามข้อต้น สีเขียว มีขนาดเล็กกว่าใบชงโค เนื้อใบจะหยาบระคายมือ ปกติแล้วใบจะพับงอเข้าหากัน รูปทรงใบคล้ายกับปีกแมลง ขนาดใบกว้างประมาณ 5 – 7 เซนติเมตร
ดอก : ออกเป็นช่อสั้น ๆ อยู่ตามยอดหรือปลายกิ่ง หนึ่งช่อจะมีดอกประมาณ 8 – 12 ดอก แต่จะบานครั้งละ 2 – 3 ดอก ดอกมีสีเหลืองอ่อน เกสรสีดำ ดอกแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงอ่อนและมีกลีบดอกประมาณ 6 กลีบ แต่ละกลีบจะเรียงซ้อนชิดกัน และงองุ้มคว่ำหน้าเข้าหากัน ออกดอกตลอดปี
การขยายพันธุ์ของพญากาหลง
การเพาะเมล็ดและการตอน
ธาตุอาหารหลักที่พญากาหลงต้องการ
ประโยชน์ของพญากาหลง
เป็นต้นไม้มงคลที่ชมได้ไม่เบื่อด้วยดอกที่ออกได้ทั้งปีเปลี่ยนสีได้งดงามแปลกตา และยังมีความเป็นมงคลทางเมตตามหานิยมต้นหนึ่งที่ควรมีไว้อย่างยิ่ง ใครค้าขายมีไว้หน้าร้านดีนักแล
สรรพคุณทางยาของพญากาหลง
ดอก
– รับประทาน แก้ปวดศีรษะ
– ลดความดันของโลหิตที่ขึ้นสูง
– แก้เลือดออกตามไรฟัน
– แก้เสมหะพิการ
คุณค่าทางโภชนาการของพญากาหลง
การแปรรูปของพญากาหลง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11624&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com