พญาดง ยอดอ่อนและใบ รับประทานเป็นผัก

พญาดง

ชื่ออื่นๆ : หน่อกล่ะอึ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ปร้างเจงบั้ว(ปะหล่อง), มีส้อย,ลำถ้อย(ลั้วะ), โพ้งลิ่น(เมี่ยน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : พญาดง, ผักไผ่  Chinese balls plant, Mountain knot weed

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Persicaria chinense ( L.) H. Gross

ชื่อวงศ์ : POLYGONACEAE

ลักษณะของพญาดง

ต้น ไม้ล้มลุกมีเนื้อไม้หรือไม้พุ่มขนาดเล็กเป็นปล้อง ๆ คล้ายหวาย แดงเรื่อ ๆ สูง 2 – 3 ฟุต ลำต้นโป่งที่ข้อ
ใบ ใบรูปหอก เล็กเรียวยาวปลายแหลม โคนใบกลมหรือสอบ ขอบใบเรียบหรือหยักซี่ฟันกึ่งเลื่อย คล้ายใบขอบชะนาง
ดอก ดอกสีขาวเป็นกระจุก กลีบดอกสีขาวแกมชมพู ผิวเรียบออกเป็นช่อที่ปลายต้น
ผล ผลสดรูปไข่มี 3 มุม สีดำแกมเทา ปลายเป็นจะงอยสั้นๆ เป็นแบบ nut หรือ achene เปลือกแข็ง ลักษณะนูนทั้ง 2 ข้าง
เมล็ด เมล็ดเมล็ดมี endosperm มาก พบตามหนองน้ำตื้น ๆ หรือตามร่องน้ำข้างถนนริมทางทั่วไป

ต้นพญาดง
ต้นพญาดง ลำต้นเล็กเป็นปล้องแดง ปลาบใบแหลม

การขยายพันธุ์ของพญาดง

ใช้เมล็ด/ทำการเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่พญาดงต้องการ

ประโยชน์ของพญาดง

ยอดอ่อน ย่างไฟกินกับน้ำพริก
ผลสุก รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ใบ สับให้ละเอียดเป็นส่วนผสมในการทำลาบ(ปะหล่อง)
ยอดอ่อน รับประทานโดยจิ้มกับเกลือ, ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ)

ดอกพญาดง
ดอกพญาดง ดอกสีขาวออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีขาวแกมชมพู

สรรพคุณทางยาของพญาดง

ใช้เป็นยารักษาโรคได้ เช่น แก้ตาอักเสบ แก้ปวดท้อง ขับโลหิตระดู ขับเสมหะแก้กระษัย ขับลมในลำไส้ แก้ถานดานในท้อง

คุณค่าทางโภชนาการของพญาดง

การแปรรูปของพญาดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11556&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment