พญาไร้ใบ พืชมีพิษ ยางทำให้เกิดผื่นคัน บวมแดง

พญาไร้ใบ

ชื่ออื่นๆ : เคียะจีน, พญาร้อยใบ (เชียงใหม่) เคียะเทียน (ภาคเหนือ) ญาร้อยใบ (เชียงใหม่) เคียะเทียน (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Euphorbia tirucalli Linn.

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของพญาไร้ใบ

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 4-7 เมตร ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก ดูคล้ายกับปะการัง เปลือกลำต้นแก่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีหนาม ส่วนกิ่งอ่อนเป็นรูปทรงกระบอกเป็นสีเขียวเรียบเกลี้ยง อวบน้ำ เมื่อหักหรือกรีดดูจะมีน้ำยางสีขาวข้นออกมาจำนวนมาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ดและการตัดชำ ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี และมีแสงแดดตลอดวัน มักพบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ โดยจะออกดอกและติดผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤศจิกายน

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบมีขนาดมาก ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน โดยมีขนาดกว้างประมาณ 0.2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หลุดร่วงได้ง่าย

ดอก  ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีเขียว ดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ไม่มีกลีบดอก และอยู่ในช่อเดียวกัน มีแต่กลีบรองดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ

ผล ผลเป็นผลแห้งจะแตกและอ้าออก

ต้นพญาไร้ใบ
กิ่งอ่อนสีเขียว

การขยายพันธุ์ของพญาไร้ใบ

ใช้เมล็ด/ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือกิ่งชำ

ธาตุอาหารหลักที่พญาไร้ใบต้องการ

ประโยชน์ของพญาไร้ใบ

สรรพคุณทางสมุนไพร

  • ใบและราก รสเฝื่อน ตำพอกแก้ริดสีดวงทวาร
  • ต้น รสเฝื่อน ต้มดื่มแก้ปวดท้อง แก้กระเพาะอาหารอักเสบ ตำพอกแก้กระดูกเดาะ แก้ปวดบวม
  • ราก รสเฝื่อน ต้มดื่มแก้ธาตุพิการ ระบายท้อง ต้มกับน้ำมะพร้าวทาแก้ปวดท้อง
  • ยาง รสเมาเบื่อร้อน มีพิษกัดมาก ใช้กัดหูด ทาแก้ปวดข้อ เข้าตาอาจบอดได้
พญาไร้ใบ
พญาไร้ใบ ใบมีขนาดมาก ดอกสีเขียว

สรรพคุณทางยาของพญาไร้ใบ

คำเตือน ในยางขาวมีสาร 4 deoxyphorbol และอนุพันธ์ ซึ่งมีฤทธิ์ระคายเคืองอย่างแรง และเป็นสารร่วมก่อมะเร็ง เมื่อสัมผัสกับน้ำยางขาวจากต้นจะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมเป็นผื่นแดง หากเข้าตาอาจทำให้ตาบอด จึงควรระวังในการใช้

คุณค่าทางโภชนาการของพญาไร้ใบ

การแปรรูปของพญาไร้ใบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11224&SystemType=BEDO
http://www.rspg.or.th
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

Add a Comment