พริกกะเหรี่ยง นิยมนำมาทำพริกแห้งเพราะให้น้ำหนักดี มีความเผ็ดและหอม

พริกกะเหรี่ยง

ชื่ออื่นๆ : พริกกะเหรี่ยง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : BIRD CHILI, CHILI

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens Linn.

ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE

ลักษณะของพริกกะเหรี่ยง

ต้น  เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.3-1.5 เมตร กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม

ใบ  ใบเดี่ยว ออกเรียบสลับ รูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบสอบ สีเขียวสด

ดอก  ดอกเดี่ยว สีขาว ออกตามซอกใบและปลายกิ่ง 3-5 ดอก ก้านดอกยาว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ปลายเป็นแฉก 5 แฉก และจะคงรูปอยู่กระทั้งกลายเป็นผล กลีบดอกโคนเชื่อมกัน

ผล  ผลชูตั้งขึ้น ติดผลเป็นช่อ ช่อละ 3-5 ผล หรืออาจมากกว่านั้น ผลเป็นรูปกลมรีและยาว โคนผลใหญ่ ปลายผลเรียวแหลม ผลโตกว่าผลพริกขี้หนูสวน เป็นชัดเจนขนาดใหญ่เท่ากับพริกกระเหรี่ยงชนิดนี้ผลเป็นสีแดง

ต้นพริกกะเหรี่ยง
ต้นพริกกะเหรี่ยง ไม้ล้มลุก ใบรูปไข่ ปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของพริกกะเหรี่ยง

การใช้เมล็ด

การปลูกพริกกะเหรี่ยง
รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหยอด 5-10 เมล็ด ต่อหลุม โดยใช้ระยะปลูก 80×80 เซนติเมตร

อายุการเก็บเกี่ยว
เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลติดได้เมื่อมีอายุ 90 วัน ผลผลิตพริกสดประมาณ 400-500 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นพริกแห้งได้ประมาณ 80-100 กิโลกรัมๆ ละประมาณ 80-150 บาท รายได้เฉลี่ยประมาณ 10,000-15,000 บาทต่อไร่

ดอกพริกกะเหรี่ยง
ดอกพริกกะเหรี่ยง ดอกสีขาว ออกตามซอกใบและกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่พริกกะเหรี่ยงต้องการ

ประโยชน์ของพริกกะเหรี่ยง

  • พริกกะเหรี่ยง มีสาร แคปไซซิน หรือน้ำมันหอมระเหย ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด
  • ขับน้ำมูกและเสมหะ ช่วยให้โล่งจมูก ช่วยลดน้ำหนัก
  • พริกกระเหรี่ยง ยังมีวิตามินซี ที่ทำหน้าที่เป็นแอนติออกซิแดนท์ซึ่งออกฤทธิ์ต้านการต่อตัวของเซลล์มะเร็ง
ผลพริกกะเหรี่ยง
ผลพริกกะเหรี่ยง ผลใหญ่ รูปกลมรี

สรรพคุณทางยาของพริกกะเหรี่ยง

คุณค่าทางโภชนาการของพริกกะเหรี่ยง

การแปรรูปของพริกกะเหรี่ยง

นิยมนำพริกกะเหรี่ยงมาทำพริกแห้งเพราะให้น้ำหนักดี มีความเผ็ดและหอม ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของพริกกะเหรี่ยง

พริกกระเหรี่ยง
พริกกระเหรี่ยงแห้ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11060&SystemType=BEDO
http:// www.doa.go.th
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment