พลับพลึง ลิลัว สรรพคุณรักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ

พลับพลึง

ชื่ออื่นๆ : ว่านชน (ภาคอีสาน) ลิลัว (ภาคเหนือ) พลับพลึง (ภาคกลาง) วิรงรอง (ชวา)

ต้นกำเนิด : ทวีปเอเซีย

ชื่อสามัญ : พลับพลึง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crinum asiaticum L.

ชื่อวงศ์ : Amaryllidaceae

ลักษณะของพลับพลึง

ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ และมีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นกลมมีความกว้างประมาณ 15 ซม. และยาวประมาณ 30 ซม.ใบจะออกรอบ ๆ ลำต้น

ใบ ลักษณะใบแคบยาวเรียว ใบจะอวบน้ำ ขอบใบจะเป็นคลื่น ตรงปลายใบจะแหลม ใบจะมีความยาวประมาณ 1 เมตร และกว้างประมาณ 10-15ซม.

ดอก ดอกจะออกเป็นช่อ ตรงปลายจะเป็นกระจุกมีประมาณ 12-40 ดอก ตอนดอกยังอ่อนอยู่จะมีกาบเป็นสีเขียวอ่อน ๆ หุ้มอยู่ 2 กาบ ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 90 ซม. ดอกมีความยาวประมาณ 15 ซม. กลีบดอกจะเป็นสีขาว และมีกลิ่นหอม เกสรตัวผู้จะมีอยู่ 6 อัน ติดอยู่ที่หลอดดอกตอนโคน ตรงปลายเกสรมีลักษณะเรียวแหลมยาวเป็นสีแดง โคนเป็นสีขาว ส่วนอับเรณูนั้น จะเป็นสีน้ำตาล

ผล ผลเป็นสีเขียวอ่อน และผลค่อนข้างกลม

ต้นพับพลึง
ต้นพับพลึง ไม้ล้มลุกขึ้นเป็นกอ และมีหัวอยู่ใต้ดิน

การขยายพันธุ์ของพลับพลึง

การเพาะเมล็ด, การแยกหน่อที่ขึ้นบริเวณโคนต้น

ธาตุอาหารหลักที่พลับพลึงต้องการ

ประโยชน์ของพลับพลึง

ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม และให้กลิ่นหอม

สรรพคุณทางยาของพลับพลึง

  • ใบ คนโบราณจะรู้กันดีว่าสามารถนำมารักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ คลายเส้น แก้อาการฟกช้ำปวดบวมได้ และยังสามารถนำไปใช้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอด หรืออยู่ไฟได้ โดยเอามาประคบหน้าท้อง ทำให้มดลูกเข้าที่อยู่ตัว น้ำคาวปลาแห้ง ขจัดไขมันส่วนเกิน และขับของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ด้วย นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ทำให้คลื่นเหียนอาเจียน รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะและน้ำดี
  • เมล็ด สามารถขับเลือดประจำเดือนให้ออกมาให้หมดได้
  • ราก สามารถนำมาตำแล้วพอกแผลก็ได้

ในใบและหัวพลับพลึงมีสารไลโคริน รับประทานจะทำให้อาเจียน ท้องร่วงอย่างแรง

ดอกพลับพลึง
ดอกพลับพลึง ดอกมีความยาว กลีบดอกสีขาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9297&SystemType=BEDO
www.clgc.agri.kps.ku.ac.th
www.th.wikipedia.org
www.flickr.com

Add a Comment