พลับพลึง
ชื่ออื่นๆ : ว่านชน (ภาคอีสาน), ลิลัว (ภาคเหนือ), พลับพลึง (ภาคกลาง), วิรงรอง (ชวา)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : พลับพลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crinum amabile Donn
ชื่อวงศ์ : AMARYLLIDACEAE
ลักษณะของพลับพลึง
พลับพลึงเป็นไม้ล้มลุกหลายฤดู มีลำต้นใต้ดิน ส่วนเหนือดินประกอบด้วยกาบใบสีขาวหุ้มซ้อนกันเป็นชั้นๆ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงซ้อนเป็นวงกว้าง 7-15 ซม. ยาว 1 เมตร ปลายใบแหลม แผ่นใบอวบหนา มีหน่อจำนวนมากขึ้นรวมกันเป็นกอ ดอกเป็นช่อดอกขนาดใหญ่ สีขาวหรือม่วงแดง ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก 10-30 ดอก ก้านช่อดอกอวบใหญ่ กลีบดอกตอนโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ยาว 7-10 ซม. ปลายแยกเป็น 6 กลีบแคบๆ กว้าง 1 ซม. ยาว 7 ซม. ดอกทยอยบาน มีกลิ่นหอม พลับพลึงดอกสีแดงจะมีช่อดอกและดอกใหญ่กว่าพลับพลึงดอกสีขาว

การขยายพันธุ์ของพลับพลึง
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/นำหน่อไปปลูกได้เลย
ธาตุอาหารหลักที่พลับพลึงต้องการ
ประโยชน์ของพลับพลึง
ปลูกประดับบ้าน หรือนำใบมาประคบแก้ชำบวม
สรรพคุณทางยาของพลับพลึง
ใบ คนโบราณจะรู้กันดีว่าสามารถนำมารักษาอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ คลายเส้น แก้อาการฟกช้ำปวดบวมได้ และยังสามารถนำไปใช้กับคุณแม่ที่เพิ่งคลอด หรืออยู่ไฟได้ โดยเอามาประคบหน้าท้อง ทำให้มดลูกเข้าที่อยู่ตัว น้ำคาวปลาแห้ง ขจัดไขมันส่วนเกิน และขับของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ด้วย นอกจากนั้นยังมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง ขับเสมหะ เป็นยาระบาย ทำให้คลื่นเหียนอาเจียน รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะและน้ำดี
เมล็ด สามารถขับเลือดประจำเดือนให้ออกมาให้หมดได้
ราก สามารถนำมาตำแล้วพอกแผลก็ได้
คุณค่าทางโภชนาการของพลับพลึง
การแปรรูปของพลับพลึง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11448&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com