พวงคราม
ชื่ออื่นๆ : ช่อม่วง
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Sandpaper Vine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Petrea volubilis L
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ลักษณะของพวงคราม
พวงคราม เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดใหญ่ แข็งแรง สามารถเลื้อยได้ไกล เนื้อไม้แข็ง เถาอ่อนหรือยอดอ่อนมีขนปกคลุม ขึ้นได้ดีในทุกสภาพพื้นที่ ทนต่อความแห้งแล้ง เป็นไม้เถาที่มีอายุยืนนาน
ดอก : สีม่วงคราม หรือม่วงเข้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบใกล้ปลายเถา ช่อดอกยาว 15 – 25 ซ.ม. กลีบเลี้ยงหรือใบประดับสีม่วงอ่อน โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดตื้น ๆ ปลายแยกออกเป็น5 แฉก รูปขอบขนาน ปลายมน กว้าง 0.3 – 0.4 ซ.ม. ยาว 1.3 – 1.8 ซ.ม. ด้านบนของกลีบมีขนอ่อน ๆ กลีบดอกสีม่วงเข้มหรือสีคราม โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ รูปขอบขนาน ปลายมน กว้าง 0.4 – 0.5 ซ.ม. ยาว 1 – 1.5 ซ.ม. กลีบดอกกลีบหนึ่งมีสีขาวแต้มที่โคนกลีบ เกสรเพศผู้ 4 อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง 3 – 3.5 ซ.ม. มักจะออกดอกและบานพร้อมกันเต็มช่อ บานทนได้หลายวัน
การขยายพันธุ์ของพวงคราม
เพาะเมล็ด, การตอน, การปังชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่พวงครามต้องการ
ประโยชน์ของพวงคราม
เป็นไม้เลื้อยที่ได้รับความนิยมในการนำมาประดับตกแต่งรั้วบ้าน ทำซุ้มทางเข้าประตู ให้ดูมีความสวยงาม
สีของดอก นำมาคั้นเป็นสีทำขนม หรือทำผ้ามัดย้อม
สรรพคุณทางยาของพวงคราม
ดอกพวงคราม ลดน้ำตาลในเลือด ในรายของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ป้องกันโรคหลอดเลือดในสมอง ลดไขมัน
คุณค่าทางโภชนาการของพวงคราม
การแปรรูปของพวงคราม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9359&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com