พวงชมพู
ชื่ออื่นๆ : ชมพูพวง (กรุงเทพฯ) หงอนนาก (ปัตตานี) พวงนาก (ภาคกลาง)
ต้นกำเนิด : ประเทศเม็กซิโก
ชื่อสามัญ : Coral Vine
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antigonon leptopus Hook
ชื่อวงศ์ : POLYGONACEAE
ลักษณะของพวงชมพู
ต้น เป็นพืชล้มลุก เป็นไม้เถาเลื้อยที่มีเถาขนาดเล็ก มีมือเกาะสำหรับเกาะพันต้นไม้ หรือกิ่งอื่นเพื่อการทรงตัว และสามารถเลื้อยพันสิ่งต่าง ๆ ไปได้ไกลประมาณ 40 ฟุต ลำต้น หรือเถาจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ดอกออกสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะใบเป็นรูปไข่ หรือมนรี ค่อน ข้างจะเป็นทรงสามเหลี่ยม ปลายใบแหลม โคนใบมน เว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบจักมนไม่แหลม แผ่นใบเป็นคลื่นไม่เรียบ ใบมีความยาว ประมาณ 7 เซนติเมตร และมีความกว้างประมาณ 7 เซนติเมตร
ดอก ดอกเป็นช่อรวมกันเป็นกลุ่มตามซอกใบ ง่ามกิ่งและปลายยอด ส่วนปลายยอดสุดจะเป็นมือเกาะ ดอกสีชมพูสดใสในกลุ่ม ดอกจะประกอบด้วยช่อดอก เรียงดอกสลับทางติดกันอยู่ อย่างหนาแน่น ลักษณะรูปร่างของดอกมีทรงคล้ายผอบรูปหัวใจ ดอกมีขนาดเล็ก คือ สักประมาณ 1 เซนติเมตร ดอกพวงชมพู มีกลีบเลี้ยง และกลีบดอกที่คล้ายกัน ดอกกลุ่มหนึ่ง ๆ ของพวงชมพู อาจจะชูเป็นช่อตั้ง หรืออาจจะห้อยเป้ฯพวงระย้าลงก็ได้ ช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ของพวงชมพู
การเพาะเมล็ด, การตอน, การปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่พวงชมพูต้องการ
ประโยชน์ของพวงชมพู
- นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ โดยปลูกลงในกระถางตั้งที่มีหลักสำหรับเกาะยึดเลื้อยขึ้น หรือปลูกลงในกระถางแขวนให้ห้อยลง หรือปลูกประดับตามริมขอบหน้าต่างและระเบียง
- ยอดอ่อนช่อดอกที่ยังไม่บานเต็มที่ อาจนำมาลวกให้สุก เพื่อใช้รับประทานเป็นผักจิ้มหรือชุบแป้งทอดรับประทานก็ได้
สรรพคุณทางยาของพวงชมพู
รากและเถาใช้เป็นยากล่อมประสาท ช่วยทำให้นอนหลับ ด้วยการใช้เถาประมาณ 1 กำมือ หรือใช้รากประมาณ 1/2 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 4 ถ้วยแก้วแล้วต้มให้เหลือ 2 ถ้วยแก้ว ใช้รับประทานก่อนนอนครั้งละ 3 ช้อนแกง
คุณค่าทางโภชนาการของพวงชมพู
การแปรรูปของพวงชมพู
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10812&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com/