พวงม่วง
ชื่ออื่นๆ : เครือ (แพร่) พวงม่วง, ฟองสมุทร, เทียนไข (กรุงเทพฯ) สาวบ่อลด (เชียงใหม่) เทียนทอง, เทียนพญาอินทร์
ต้นกำเนิด : ประเทศไทยพบขึ้นทั่วไป ในต่างประเทศทั่วไปในเขตร้อน
ชื่อสามัญ : เทียนหยด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Duranta drdcta L.
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE
ลักษณะของพวงม่วง
ต้น ไม้พุ่มสูงประมาณ 3 เมตร แตกกิ่งก้าน กิ่งลู่ลง
ใบ ใบ เดี่ยว ออกสลับ รูปไข่กลับ ปลายแหลมหรือมน โคนสอบ ขอบใบจัก
ดอก ออกดอกเป็นช่อ ยอดกิ่ง ดอกมีลักษณะเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ สีม่วงชมพู
ผล ออกเป็น ช่อ ห้อยลง รูปกลมสีเขียว เมื่อสุกเป็นสีเหลือง
การขยายพันธุ์ของพวงม่วง
การเพาะเมล็ด ตอนหรือปักชำกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่พวงม่วงต้องการ
ประโยชน์ของพวงม่วง
นิยมปลูกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ ใช้ตกแต่งสวน หรือบริเวณที่ต้องการแนวเป็นรั้ว ใช้ปลูกร่วมกับไม้ชนิดอื่น ๆ ทำให้สนามหรือสวนดูสวยงาม เป็นสัดส่วน และมักนิยมปลูกเป็นไม้ถุง จำหน่ายได้ง่าย เป็นพืชที่ต้องการแสงมาก ชอบน้ำหรือความชื้นสูง
สรรพคุณทางยาของพวงม่วง
- ใบสดใช้ห้ามเลือด แก้ฝีฝักบัว แก้อักเสบบวมเป็นหนอง
- เมล็ดแห้งใช้ ชงน้ำรับประทานแก้ไข้มาลาเรีย แก้ช้ำใน
ส่วนที่เป็นพิษ : ใบ ผล
สารพิษ : ใบ ผล มีสาร saponin และผลมีสาร narcotine alkaloids
การเกิดพิษ : รับประทานผลอาจตายได้ จะทำให้อาเจียน ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีไข้ ตาพร่า กระหายน้ำมาก ถ้าได้รับพิษมาก เม็ดเลือดแดงแตกได้ พืชนี้เป็นพิษต่อสัตว์เลือดเย็นด้วย
การรักษา : ส่งโรงพยาบาล ให้กินนม หรือไข่ขาว เกลือบกระเพาะ เพื่อลดการดูดซึมของสารพิษ ล้างท้อง ถ้าเสียน้ำมาก ต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด
คุณค่าทางโภชนาการของพวงม่วง
การแปรรูปของพวงม่วง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9468&SystemType=BEDO
www.phayamengraischool.ac.th
www.rspg.or.th
www.flickr.com