หมากพอก มะพอก ลำต้นนำไปทำกระดานบ้าน ผลทานได้มีรสหวาน


หมากพอก มะพอก

ชื่ออื่นๆ : กระท้อนรอก (ตราด) จัด, จั๊ด (ลำปาง) ตะเลาะ, เหลอะ (ส่วย สุรินทร์) ตะโลก (เขมร สุรินทร์) ท่าลอก (พิษณุโลก นครราชสีมา ปราจีนบุรี) ประดงไฟ, ประดงเลือด (ราชบุรี) พอก (อุบลราชธานี) มะคลอก (สุโขทัย อุตรดิตถ์) มะมื่อ, หมักมื่อ (ภาคเหนือ) หมักมอก (พิษณุโลก) หมากรอก (ประจวบคีรีขันธ์)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : มะพอก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parinari anamense Hance

ชื่อวงศ์ : CHRYSOBALANACEAE

ลักษณะของหมากพอก มะพอก

ต้น ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10 – 20 เมตร เปลือกสีน้ำตาลปนเทา ลอกและแตกเป็นสะเก็ดรูปสี่เหลี่ยม

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับรูปไข่หรือรูปรี ปลายใบมน หรือเป็นติ่งแหลมอ่อน ( apiculate ) โคนใบมน ขอบใบเรียบ กว้าง 4- 6 ซม. ยาว 6 – 15 ซม. แผ่นใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างมีขนสีขาวนวล

ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรเพศผู้มี 5 – 12 อัน

ผล ผลสดรูปร่างค่อนข้างกลม หรือรีแกมรูปกระสวย ผิงแข็งและมีตุ่มเล็กๆ สีเทาแกมน้ำตาล เมล็ดแข็ง

ต้นมะพอก
ต้นมะพอก ไม้ต้นขนาดกลาง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา

การขยายพันธุ์ของหมากพอก มะพอก

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่หมากพอก มะพอกต้องการ

ประโยชน์ของหมากพอก มะพอก

  • นำลำต้นไปทำกระดานบ้าน
  • ผลกินได้และมีรสหวาน
  • เมล็ดใช้ทำน้ำมัน

ต้นพอกจัดเป็นไม้หวงห้ามรับประทานประเภท ข. ในผลมีน้ำมัน หมึกพิมพ์และน้ำมันหล่อลื่น ภูมิปัญญาอีสานในอดีตมีการสร้างอุปกรณ์เฉพาะในการหีบน้ำมันจากเมล็ดพอกโดยใช้ต้นไม้ตั้งต้นขูดเอาแก่นออกปล่อยเป็นรูเปิดทั้งสองด้าน เจาะรูตรงกลางลำต้นด้านล่างบีบน้ำมันจากเมล็ดหมากพอกโดยใช้แผ่นไม้อัดทั้งสองด้านเข้าหาตอนกลาง น้ำมันที่ได้จะไหลออกตรงรูที่เจาะไว้ ทางสมุนไพร ใช้แก่นต้มน้ำดื่มและอาบรักษาโรคประดง ผื่นคันแดงตามร่างกาย หรือปวดแสบร้อน และน้ำเหลือง หรือใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มรักษาโรคหืด ส่วนเปลือกต้นทำให้ร้อนใช้ประคบแก้ช้ำใน หรือโรคปวดบวมต้นพอกจัดเป็นไม้หวงห้ามรับประทานประเภท ข. ในผลมีน้ำมัน หมึกพิมพ์และน้ำมันหล่อลื่น ภูมิปัญญาอีสานในอดีตมีการสร้างอุปกรณ์เฉพาะในการหีบน้ำมันจากเมล็ดพอกโดยใช้ต้นไม้ตั้งต้นขูดเอาแก่นออกปล่อยเป็นรูเปิดทั้งสองด้าน เจาะรูตรงกลางลำต้นด้านล่างบีบน้ำมันจากเมล็ดหมากพอกโดยใช้แผ่นไม้อัดทั้งสองด้านเข้าหาตอนกลาง น้ำมันที่ได้จะไหลออกตรงรูที่เจาะไว้

ดอกมะพอก
ดอกมะพอก ดอกสีขาว เป็นช่อ ออกที่ปลายกิ่ง

สรรพคุณทางยาของหมากพอก มะพอก

  • ใช้แก่นต้มน้ำดื่มและอาบรักษาโรคประดง ผื่นคันแดงตามร่างกาย หรือปวดแสบร้อน และน้ำเหลือง หรือใช้ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มรักษาโรคหืด
  • ส่วนเปลือกต้นทำให้ร้อนใช้ประคบแก้ช้ำใน หรือโรคปวดบวม

คุณค่าทางโภชนาการของพอก หมากพอก มะพอก ทะลอก

การแปรรูปของพอก หมากพอก มะพอก ทะลอก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12101&SystemType=BEDO
www.flickr.co

Add a Comment