พังกา ถั่วขาว เปลือกแห้งใช้ในการฟอกย้อมหนังและแหอวน

พังกา ถั่วขาว

ชื่ออื่นๆ : พังกา  ถั่วขาว

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :  ถั่วขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bruguiera hainesii c.g. ROgera

ชื่อวงศ์ : Rhizophoraceae

ลักษณะของพังกา ถั่วขาว

ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใหญ่สูง15-25เมตรเปลือกสีน้ำตาลลอมเทาและมีช่องอากาศขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วไปตามลำต้น โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อยและมีรากหายใจรูปเข่า

ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงแบบตรงข้ามเป็นคู่แต่ละคู่สลับทิศทางกันแผ่นใบรูปขอบขนานแกมรีถึงรูปรีขนาด4-7+8-15ซม.ปลายใบเรียว แหลมสั้นฐานใบแหลม ผิวใบด้านบนมีสีเขียวท้องใบมีสีเขียวอมเหลือง ก้านใบยาว2-4ซม.เป็นสีเหลืองอมเขียวหูใบที่ปลายยอดจะเป็นสีเหลืองอมเขียวยาว3-5ซม.

ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ง่ามใบ เป็นจุกแต่ละช่อมี2-3ดอกบางครั้งออกเป็นดอกเดี่ยวๆก้านช่อดอกยาว0.6-0.9ซม.ดอกยาว2-2.5ซม.วงกลีบเลี้ยงจะเป็นสีเหลืองอมเขียวถึงสีเหลืองจางๆมีกลีบเลี้ยง10กลีบ หลอดกลีบเลี้ยงมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง0.5ซม.มีสันนูนเล็กน้อยทางด้านบน
แฉกและหลอดกลีบเลี้ยงยาวเท่ากันกลีบเลี้ยงโค้งงอขึ้นด้านบนกลีบดอกยาว0.7-1ซม.มีหยักลึก1/3ของกลีบดอกและมีขนปกคลุมมีรยางค์2-4อัน
ที่ปลายแฉกจะออกดอกและผลระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม

ผล มีขนาดสั้นรูปทรงกระบอกยาว1.5-1ซม.มีสีเขียวแกมเหลืองจะงอกตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ ฝัก รูปซิการ์หรือคล้ายกระบอง

พังกา
ใบคู่ประกบกันเป็นหลอดยาวเรียวหุ้มปลายยอด

การขยายพันธุ์ของพังกา ถั่วขาว

-/-

ธาตุอาหารหลักที่พังกา ถั่วขาวต้องการ

ประโยชน์ของพังกา ถั่วขาว

เปลือกแห้งมีแทนนินถึง 35% ใช้ในการฟอกย้อมหนังและแหอวน สารโพลบาฟีนในเปลือกลำต้นให้สีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม ใช้ทำเสาเพราะทนทานต่อการทำลายของปลวกและเพรียง เปลือกใช้ทำกาว มีฤทธิ์เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องเสีย ใช้กินกับหมาก ในมัลดีฟส์ นำฝักของพังกาหัวสุมดอกแดงไปต้มแล้วรับประทานเป็นผัก ซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าถั่วฝักยาว

สรรพคุณทางยาของพังกา ถั่วขาว

คุณค่าทางโภชนาการของพังกา ถั่วขาว

การแปรรูปของพังกา ถั่วขาว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9485&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment