พิกุล
ชื่ออื่นๆ : มะเมา แก้ว พิกุลป่า พิกุลเขา พิกุลเถื่อน
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Bullet wood
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mimusops elengi Linn.
ชื่อวงศ์ : SAPOTACEAE
ลักษณะของพิกุล
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงกลางความสูง 5-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอกแคบๆ โคนใบแหลม ปลายใบมนหรือแหลม ใบเกลี้ยงขอบใบเรียบเป็นคลื่น ดอกออกเป็นกระจุกใหญ่ตามปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบ ดอกออกดอกเดี่ยว ที่ปลายกิ่งและซอกใบ แต่อยู่รวมกันเป็นกระจุก มี 24 กลีบ เรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ชั้นใน 16 กลีบ ชั้นนอก 8 กลีบ สีขาวมีกลิ่นหอม แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้ำตาลเมื่อโรย ออกดอกเกือบตลอดทั้งปี ผลกลมรีหัวท้ายแหลม ผลสุกมีสีเหลือง สีส้มหรือสีแดง มี 1-2 เมล็ด

การขยายพันธุ์ของพิกุล
ใช้เมล็ด/-
ธาตุอาหารหลักที่พิกุลต้องการ
ประโยชน์ของพิกุล
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ
สรรพคุณทางยาของพิกุล
ส่วนที่ใช้ : ดอก เปลือก เมล็ด แก่นที่ราก ใบ
สรรพคุณ
ดอกสด – เข้ายาหอม ทำเครื่องสำอาง แก้ท้องเสีย
ดอกแห้ง – เป็นยาบำรุงหัวใจ ปวดหัว เจ็บคอ ขับเสมหะ
ผลสุก – รับประทานแก้ปวดศีรษะและแก้โรคในลำคอและปาก
เปลือก – ยาอมกลั้วคอ ล้างปาก แก้เหงือกบวม รำมะนาด
เมล็ด – ตำแล้วใส่ทวารเด็ก แก้โรคท้องผูก
ใบ – ฆ่าพยาธิ
แก่นที่ราก – เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต ขับลม
กระพี้ – แก้เกลื้อน
คุณค่าทางโภชนาการของพิกุล
การแปรรูปของพิกุล
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11234&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com