พิมาน กระถินป่า
ชื่ออื่นๆ : กระถินพิมาน (ภาคกลาง) คะยา, หนามขาว (ภาคเหนือ) กระถินป่า, แฉลบขาว, แฉลบ, วิมานแดง, กระถินวิมาน (สุโขทัย) กระถินแดง, กระถินขาว
ต้นกำเนิด : รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
ชื่อสามัญ : Leguminosae-Mimosoideae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia tomentosa Willd.
ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-MIMOSOIDEAE
ลักษณะของพิมาน กระถินป่า
ต้น ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 5-15 ม. พุ่มเรือนยอดโปร่งแผ่กว้างคล้ายรูปร่ม กิ่งอ่อนมีขนหนาแน่น ตามกิ่งมีหูใบแปลงรูปเป็นหนามแหลมแข็ง ยาวได้ถึง 4.5 ซม.
ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 3-9 ซม. ก้านใบประกอบยาว 0.6-1 ซม. มีต่อมขนาดใหญ่ที่ปลายก้านใบประกอบตรงรอยต่อระหว่างแขนงคู่ล่างสุด ใบประกอบแยกแขนง 7-23 คู่ ยาว 0.9-2.5 ซม. แต่ละแขนงมีใบย่อย 20-50 คู่ เรียงตรงข้ามชิดกัน ใบย่อยรูปขอบขนาน กว้างประมาณ 1 มม. ยาว 2-3 มม. ปลายมน โคนเบี้ยว แผ่นใบมีขนทั้ง 2 ด้าน ไม่มีก้านใบย่อย
ดอก ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ออกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ 1-4 ช่อ กลิ่นหอมอ่อน ก้านช่อดอกยาว 1-2.5 ซม. มีขน ดอกเล็ก สีขาว มีจำนวนมาก ออกชิดกันแน่นบนแกนช่อกลมคล้ายช่อดอกกระถิน เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอก 0.9-1.3 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอก 4-5 กลีบ เล็กมาก ติดกันเป็นหลอดสั้นๆ เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก
ผล ฝักแบนแคบรูปขอบขนาน กว้าง 0.8-1.1 ซม. ยาว 9-12 ซม. ฝักแก่สีน้ำตาล โค้งงอ มีหลายเมล็ด เมล็ดรูปไข่ กว้าง 5-6 มม. ยาว 7-9 มม
การขยายพันธุ์ของพิมาน กระถินป่า
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่พิมาน กระถินป่าต้องการ
ประโยชน์ของพิมาน กระถินป่า
- ใบอ่อน ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ รวมกับผักอื่น ๆ รส จืด มัน
- เปลือก มีสารฝาด มี pyrogallol และ catechol อยู่ด้วย ใช้ฟอกหนัง
- เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง
สรรพคุณทางยาของพิมาน กระถินป่า
ราก รสฝาดเฝื่อน แก้พิษสัตว์กัดต่อย
คุณค่าทางโภชนาการของพิมาน กระถินป่า
การแปรรูปของพิมาน กระถินป่า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11612&SystemType=BEDO
www.flickr.com