พีพวนน้อย ผลรับประทานได้ มีรสหวาน

พีพวนน้อย

ชื่ออื่นๆ : ติงตัง ตีนตั่งเครือ นมแมวป่า นมวัว บุหงาใหญ่ พีพวน สีม่วน

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : พีพวน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Uvaria rufa Bl.

ชื่อวงศ์ : Annonaceae

ลักษณะของพีพวนน้อย

ไม้เถา เกาะเลื้อยด้วนส่วนของใบที่เปลี่ยนเป็นมือพันกิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรี กว้าง 2.5-6 ซม. ยาว 5-15 ซม. โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม ผิวใบด้านบนมีขนสาก ด้านล่างมีขนนุ่ม ก้านใบยาว 2.5-5 ซม. ดอกสีแดงสดถึงสีแดงเข้ม ออกเป็นช่อ 1-4 ดอก ตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 3 กลีบ มีขนปกคลุม กลีบดอก 6 กลีบ รูปไข่ปลายมน มีขนปรายทั้งสองด้าน ดอกบานขนาด 1.5-2.5 ซม. เกสรผู้จำนวนมาก วงนอกมักเป็นหมัน รังไข่มี 10 อัน หรือจำนวนมาก ผลรูปรีแกมรูปไข่ ปกคลุมด้วยขนหนาแน่น ขนาดยาว 2-3 ซม. แต่ละช่อมี 4-20 ผล ก้านผลยาว 1-4 ซม. เมล็ด 10-20 เมล็ด พบขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยจนถึงอินโดนีเซีย ตามป่าดงดิบที่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึง 800 ม. ออกดอกตลอดปี

พีพวยน้อย
พีพวยน้อย ผลรูปรีแกมรูปไข่ ปกคลุมด้วยขนหนาแน่น

การขยายพันธุ์ของพีพวนน้อย

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่พีพวนน้อยต้องการ

ประโยชน์ของพีพวนน้อย

ผลรับประทานได้ มีรสหวาน

สรรพคุณทางยาของพีพวนน้อย

ผลตำผสมน้ำทาแก้ผดผื่นคัน
เนื้อไม้และรากต้มน้ำรับประทานแก้ไข้เนื่องจากกินของแสลง

คุณค่าทางโภชนาการของพีพวนน้อย

การแปรรูปของพีพวนน้อย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10195&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment