ลักษณะประจำวงศ์
วงศ์ละมุด SAPOTACEAE ลักณะวงศ์เป็นไม้ต้น หรือไม้พุ่ม มีน้ำยางขาว อย่างน้อยก็ต้องพบที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของพืช ใบ เดี่ยว ติดเวียนสลับ ขอบเรียบ เนื้อหนามัน ดอก สมบูรณ์เพศ สมมาตรตามรัศมี กลีบดอกเชื่อมติดกัน รังไข่ติดเหนือวงกลีบมี 4 หรือ 5 ช่อง แต่ละช่อมีไข่อ่อน 1 หน่วย ก้านเกสรเพศเมียมี 1 ผล ผลหนามี 1-3 เมล็ด มันเป็นเงามีรอยแผลเป็น
ลักษณะเด่นของวงศ์
วงศ์ของพืชชนิดนี้เป็นไม้ต้น ใบเดี่ยว ติดเวียนสลับ มีหูใบ มีขนปกคลุมสีทองถึงสีน้ำตาล ดอกออก เป็นช่อแน่นที่ง่ามใบ ดอกสมบูรณ์เพศ เกสรเพศผู้ที่ติดสลับกับกลีบดอก จะเป็นหมันมีจานฐานดอก และมักจะติดกับรังไข่ เมล็ดมันเป็นเงามีรอยแผลเป็นใหญ่
วงศ์ใกล้เคียง-ลักษณะที่แตกต่าง
- Ebenaceae – ไม่มียางขาว เปลือกและใบแห้ง มักมีสีดำ
- Myrsinaceae – ใบไม่มีจุดดำและไม่มีหูใบ
การกระจายพันธุ์
วงศ์ละมุด SAPOTACEAE พบในเขตร้อน และในประเทศไทยมี 17 สกุล
- สกุล Madhuca ไม้ต้น มีกลีบเลี้ยงเรียงเป็น 2 แถว ๆ ละ 2 พบในป่าที่ต่ำ และป่าดิบเขา ที่สูงปานกลาง
- สกุล Palaquium ไม้ต้นมีกลีบเลี้ยงเรียงเป็น 2 แถว ๆ ละ 3 พบในป่าดิบที่ต่ำและป่าดิบเขาที่สูงปานกลาง
- สกุล Planchonella ไม้ต้นกลีบเลี้ยง 5 กลีบ หายากที่เป็นไม้พุ่ม พบในป่าที่ต่ำ
- สกุล Pouteria เมล็ดส่วนที่เป็นมันมีขนาดเล็ก
- สกุล Sarcosperma ไม้ต้น ใบติดตรงข้าม มีช่อดอกแตกกิ่งก้าน
ประโยชน์
พืชในวงศ์นี้มีหลายชนิดที่มีเนื้อไม้ที่ดีได้แก่ สกุล Palaquium, Planchonella, Madhuca พวกที่ใช้ยางที่เรียกว่า gutta percha ได้แก่ สกุล Palaquium ผลกินได้ ได้แก่ ละมุดฝรั่ง Manilkara zapota (L.) P. Royen ละมุดไทย Manilkarakauki (L.) Dubard สตาร์แอปเปิ้ล Chrysophyllum cainito L. นอกจากนี้ที่เป็นไม้ประดับ เช่น พิกุล Mimosops elengi L.
สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.dnp.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com
วงศ์ละมุด มีทั้งผลไม้ที่ทานได้คือ ละมุด แอปเปิ้ลสตาร์ และไม้ประดับคือ พิกุล