พุทธรักษากินหัว
ชื่ออื่นๆ : พุทธรักษา, สาคูหัวข่า, สาคูมอญ, อะตาหลุด
ต้นกำเนิด : ประเทศบราซิล
ชื่อสามัญ : Canna
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canna edulis
ชื่อวงศ์ : CANNACEAE
ลักษณะของพุทธรักษากินหัว
ต้น เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน และเหง้าสามารถแตกแขนงเพื่อเจริญเป็นต้นใหม่ โดยเหง้าจะมีลักษณะเป็นทรงกลม และเป็นข้อปล้องขนานกับพื้นดิน ผิวเหง้ามีเปลือกหรือเยื่อเป็นแผ่นสีน้ำตาลหุ้มที่เรียกว่า ใบเกล็ด
ใบ ส่วนที่โผล่ขึ้นมาเหนือดินคือลำต้นเทียม โดยมีแกนกลางเป็นทรงกลม และแกนกลางถูกล้อมรอบด้วยก้านใบ สูงประมาณ 0.5-1 เมตร ก้านใบมีสีเขียว และมีนวลสีขาวปกคลุม ถัดมาจากก้านใบจะเป็นส่วนของแผ่นใบที่มีรูปร่างยาวรี มีความยาวได้มากกว่า 1 เมตร แผ่น และขอบใบเรียบ ค่อนข้างหนา และมีเนื้อเหนียว บนแผ่นใบมองเห็นเส้นใบชัดเจน โดยเส้นใบจะแตกออกด้านข้างจากเส้นกลางใบขนานกันเป็นคู่ไปทางขอบใบ
ดอก ออกเป็นช่อยาว แต่ละช่อมีดอก 5-10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ อยู่ด้านล่าง ส่วนกลีบดอกมีทั้งหมด 3 กลีบ เช่นกัน และแต่ละกลีบมีขนาดเท่ากัน ซึ่งจะมีหลากหลายสีผสมกันหรือมีสีโทนเดี่ยว อาทิ สีเหลือง สีเหลืองแกมแดง สีแดง สีแดงอมชมพู หรือ สีชมพู เป็นต้น ถัดมาตรงกลางเป็นส่วนของเกสรตัวผู้ 6 อัน มักเป็นเกสรไม่สมบูรณ์ โดย 3 อันแรกจะอยู่ขอบนอก และอีก 3 อัน จะอยู่ด้านใน ถัดมาด้านในสุดจะเป็นเกสรตัวเมียที่มีความสมบูรณ์ 1 อัน ส่วนด้านล่างของเกสรตัวเมียเป็นรังไข่ที่มี 3 ช่อง ทั้งนี้ การบานของดอกพุทธรักษาแต่ละครั้งจะบานนานกว่าครึ่งเดือน
ผล มีลักษณะกลมรี แบ่งเป็นร่องหรือพู ผลมีเปลือกผลมีเขียวอมเทา หรือสีแดงเรื่ออมชมพู ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ และผิวเปลือกจะมีหนามสั้นๆเต็มทั่วผล แต่หนามนี้จะค่อนข้างอ่อน ไม่เป็นอันตรายเวลาจับ ด้านในผลมีเมล็ด 1-8 เมล็ด เมล็ดขณะผลอ่อนจะมีสีขาว เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมดำ มีเปลือกเมล็ดหนา
การขยายพันธุ์ของพุทธรักษากินหัว
การแยกเหง้าหรือแยกกอ
ธาตุอาหารหลักที่พุทธรักษากินหัวต้องการ
ประโยชน์ของพุทธรักษากินหัว
- เหง้าใต้ดินเป็นแหล่งสะสมแป้ง ใช้รับประทานสด หรือนำมา ประกอบอาหารพื้นเมือง
- หัวใต้ดิน นิยมนำมาต้มรับประทาน เนื้อมีสีขาวเนียน รสชาติออกหวานมัน
- ใบใช้ห่อข้าวและอาหาร
- เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่นิยมปลูกทั้งตามบ้านเรือน และสถานที่สาธารณะ เนื่องจากเป็นไม้ที่ให้ดอกสวยงาม ปลูกง่าย ดูแลง่าย นอกจากนั้น ยังเป็นไม้ดอกที่มีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลที่ช่วยปกปักษ์รักษาผู้ปลูก ช่วยป้องกันภัยอันตราย และเสนียดจัญไรต่างๆ จึงได้ที่มาของชื่อว่า พุทธรักษา ซึ่งหมายถึง การมีพุทธองค์คอยปกป้องรักษา
สรรพคุณทางยาของพุทธรักษากินหัว
- เหง้าสด กินแก้ปวดมวนท้อง
- กลีบดอกนำบด สำหรับประคบแผล ช่วยในการห้ามเลือด ช่วยให้แผลแห้ง ป้องกันน้ำเหลืองไหล และรักษาแผลให้หายเร็ว
คุณค่าทางโภชนาการของพุทธรักษากินหัว
การแปรรูปของพุทธรักษากินหัว
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9904&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com