พุทธรักษา
ชื่ออื่นๆ : พุทธสร (ภาคเหนือ) ปล้ะยะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) พุทธรักษา (ภาคกลาง) บัวละวง (ลพบุรี)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : Indian shot
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canna indica L.
ชื่อวงศ์ : CANNACEAE
ลักษณะของพุทธรักษา
เป็นพรรณไม้ล้มลุกมีเหง้าใต้ดินต้นสูง 3-4 ฟุต ใบเดี่ยวเป็นแผ่นกว้างรูปหอกใหญ่ปลายแหลม ลักษณะคล้ายพวงขมิ้นอ้อย แต่ต้นจะสูงกว่าก้านใบยาวเรียวกว่า ดอกออกเป็นช่อมีก้านตั้งสูง กลีบดอกเล็กเรียวเหมือนเล็บมือยาวๆ สีแดง ผลกลมเท่าหัวแม่มือ ผิวเป็นเม็ดใสๆรอบ สีเขียว แต่เดิมปลูกเป็นไม้ประดับ ปัจจุบันมีพันธุ์ดอกใหญ่สวยงามกว่า จึงหาค่อนข้างยาก พบหลงเหลืออยู่ตามที่รกร้างว่างเปล่า ที่ลุ่มชื้นแฉะเป็นบางครั้ง

การขยายพันธุ์ของพุทธรักษา
ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/-
ธาตุอาหารหลักที่พุทธรักษาต้องการ
ชอบดินเหนียวชุ่มชื้นและ มีอินทรีย์วัตถุสูง หรือที่ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร
ประโยชน์ของพุทธรักษา
นอกจากเป็นไม้ประดับแล้ว พุทธรักษายังมีสรรพคุณทางยาด้วย
สรรพคุณทางยาของพุทธรักษา
ดอก รสเย็น ตำพอกห้ามเลือด รักษาแผลหนอง เมล็ด รสเมาเย็น ตำพอกแก้ปวดศีรษะ เหง้า รสเย็นฝาดขื่น บำรุงปอด แก้วัณโรค แก้ไอ แก้โรคตับอักเสบ ตัวเหลือง แก้ประจำเดือนไม่ปกติมามากหรือมาไม่หยุด แก้บิดเรื้อรัง แก้แผลอักเสบบวม สมานแผล แก้ตกขาว แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ไอมีเลือด

คุณค่าทางโภชนาการของพุทธรักษา
การแปรรูปของพุทธรักษา
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11260&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com