มะกายคัด
ชื่ออื่นๆ : กายขัดหิน ขี้เนื้อ ขางปอย ซาดป่า ลายตัวผู้ พรากวางใบใหญ่ ทองขาว แทงทวย มะคายแสด คำแสด
ต้นกำเนิด : ในประเทศไทยพบได้ทั่วไป บริเวณชายป่าดงดิบ
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mallotus philippensis (Lam.) Mull.Arg.
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE
ลักษณะของมะกายคัด
ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 12 ม. ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรี กว้าง 3-10 ซม. ยาว 6-10 ซม. โคนใบสอบมนและมีต่อม 1 คู่ ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 2-7 ซม. ดอกสีขาวหม่น ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ยาว 3-15 ซม. แยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ มีกลีบดอก 3-4 กลีบ เกสรผู้ 23-32 อัน ดอกเพศเมีย มีกลีบดอก 5 กลีบ ผลสีแดงหรือแดงแสด ทรงกลม มี 3 พูตื้นๆ ขนาด 5-10 มม. เมล็ดรูปไข่ ขนาด 4 มม.
การขยายพันธุ์ของมะกายคัด
ใช้เมล็ด/ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะกายคัดต้องการ
ประโยชน์ของมะกายคัด
เมล็ดใช้เป็นยาเบื่อปลา
เนื้อไม้ใช้ทำเป็นฟืนได้
ผลใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีแดงที่เรียกว่า Kamela dye
สรรพคุณทางยาของมะกายคัด
คุณค่าทางโภชนาการของมะกายคัด
การแปรรูปของมะกายคัด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9565&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com