มะขามป้อม หรือ มะขามป้อมอินเดีย ผลไม้รสเปรี้ยวที่มีวิตามินซีสูง

มะขามป้อม หรือ มะขามป้อมอินเดีย ผลไม้รสเปรี้ยวที่มีวิตามินซีสูง

ชื่ออื่นๆ : กำทวด (ราชบุรี) กันโตด (เขมร-จันทบุรี) สันยาส่า มั่งลู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : Emblic myrablan, Malacca tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus emblica L.

ชื่อวงศ์ : Euphorbiaceae

ชื่อภาษาอังกฤษ : Puree

มะขามป้อม หรือ มะขามป้อมอินเดีย ผลไม้รสเปรี้ยวที่มีวิตามินซีสูง
มะขามป้อม

ลักษณะของมะขามป้อม 

ไม้ต้น สูง 10-12 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาว กิ่งก้านแข็ง เหนียว

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน รูปขอบขนาน กว้าง 1- 5 มม. ยาว 4-15 มม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเข้า ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว

ดอก ออกเป็นช่อ เป็นกระจุกเล็กๆ ดอกสีเหลืองอ่อนออกเขียว กลีบดอกมี 5-6 กลีบ มีเกสรเพศผู้สั้นๆ 3-5 อัน ก้านดอกสั้น

ผล รูปทรงกลม ขนาด 1.3-2 ซม. เป็นพูตื่นๆ 6 พู ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียวอมเหลือง พอแก่เป็นสีเหลืองออกน้ำตาล ให้ผลผลิตในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

เมล็ด เมล็ดรูปรี เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง

การขยายพันธุ์ของมะขามป้อม 

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะขามป้อม

ประโยชน์ของมะขามป้อม

  • ผล ใช้รับประทานเพื่อบรรเทาหวัด แก้ไอ และละลายเสมหะได้ มีแทนนินซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชัน ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ยับยั้งการสร้างเมลานิน และสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (Tyrosinase) ได้
  • ชาวกะเหรี่ยงใช้ย้อมผ้าให้สีเทา
  • เปลือกและใบ ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมไหม ขนสัตว์และผม
  • พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสระแก้ว โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของมะขามป้อม

ส่วนที่ใช้ : ผลสด น้ำจากผล

สรรพคุณ :

ผลสด – โตเต็มที่ รสเปรี้ยวอมฝาด จะรู้สึกหวานตาม แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ แก้โรคลักปิดลักเปิด เป็นผลไม้ที่มีไวตามินซีสูง

น้ำจากผล – แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใช้ผลโตเต็มที่ไม่จำกัดจำนวน กัดเนื้อเคี้ยวอมบ่อยๆ แก้ไอ หรือใช้ผลไม้สด 10-30 ผล ตำคั้นน้ำรับประทาน แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ

สารเคมี : มะขามป้อมสดมีไวตามินซีประมาณ 1-2 % มะขามป้อม 1 ผล มีปริมาณไวตามินซีเท่ากับที่มีในส้ม 2 ผล นอกจากนี้พบ nicotinic acid, mucic acid, ellagic acid และ phyllemblic acid.

คุณค่าทางโภชนาการของมะขามป้อม

  • คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
  •  พลังงาน                       62.0                     แคลอรี่
  • โปรตีน                           0.3                       กรัม
  • ไขมัน                              0.1                       กรัม
  • คาร์โบไฮเดรต             14.9                       กรัม
  • แคลเซียม                    18.0                      มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส                      4.0                     มิลลิกรัม
  • เหล็ก                             0.5                      มิลลิกรัม
  • เบต้าแคโรทีน              21.0                      มิลลิกรัม
  • วิตามีนบี 1                    0.02                     มิลลิกรัม
  • วิตามีนบี                     20.0                       มิลลิกรัม
  • ไนอะซีน                       0.80                     มิลลิกรัม
  • วิตามีนซี                     19.0                       มิลลิกรัม

การแปรรูปของมะขามป้อม

นำมาแปรรูปได้หลายหลากหลายมาก อย่างเช่น มะขามป้อมแช่อิ่ม เป็นต้น

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับมะขามป้อม

References : www.bedo.or.th

ภาพประกอบ : www.pixabay.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

7 Comments

Add a Comment