มะขามแขก
ชื่ออื่นๆ : มะขามแขก
ต้นกำเนิด : –
ชื่อสามัญ : Indiad senna, Tinnevelly senna.
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna alexandrina P. Miller.
ชื่อพ้อง : Cassia angustifolia Vahl
ชื่อวงศ์ : FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
ลักษณะของมะขามแขก
ต้น มะขามแขกจัดเป็นไม้พุ่ม ซึ่งมีความสูงของลำต้นประมาณ 0.5 – 1.5 เมตร
ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก คล้ายมะขามไทย ซึ่งออกแบบเรียงสลับกันอยู่ บริเวณโคนและปลายใบจะสอบ และมีขอบเรียบ จัดเป็นพืชที่มีกลิ่นเหม็นเขียว ให้รสหวานชุ่ม
ดอก ดอกมีสีเหลือง โดยจะออกดอกเป็นช่ออยู่ตามบริเวณซอกใบตอนปลายกิ่ง ลักษณะของดอกจะบานจากโคนไปหาปลายช่อ
ผล ผลเป็นรูปขอบขนานโดยมีลักษณะฝักแบน โค้งงอเล็กน้อย คล้ายถั่วลันเตาแต่ป้อมและแบนกว่า รูปขอบขนาน ผลเมื่ออ่อนจะมีสีเขียวแต่พอแก่เต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 6 -12 เมล็ด
การขยายพันธุ์ของมะขามแขก
การใช้ต้นกล้า หรือการเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะขามแขกต้องการ
ประโยชน์ของมะขามแขก
มะขามแขกเป็นยาระบาย มีฤทธิ์ในการต้านและยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ สามารถรักษา และป้องกันการติดเชื้อของแผลได้
สรรพคุณทางยาของมะขามแขก
- ใบและฝัก รสเปรี้ยว ใช้เป็นยาถ่าย ใบจะไซ้ท้องมากกว่าฝัก (อาการไซ้ท้อง คือ ไม่สบายท้อง ปวดมวนเนื่องจากรับประทาน) แก้อาการท้องผูก
- ใบ รสเปรี้ยวหวาน ใช้เป็นยาระบายท้อง ถ่ายพิษอุจจาระเป็นมูก ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายพิษไข้ แก้ริดสีดวงทวาร
- ฝัก รสเปรี้ยว แก้ท้องผูก แก้ริดสีดวงทวาร ถ่ายพิษไข้ ขับลมในลำไส้
วิธีและปริมาณที่ใช้ :
ใบมะขามแขกหนัก 2 กรัม หรือ 2 หยิบมือ หรือใช้ฝัก 10-15 ฝัก ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว 5 นาที ใส่เกลือเล็กน้อยเพื่อกลบรสเฝื่อน รับประทานครั้งเดียว หรือ ใช้วิธีบดใบแห้ง เป็นผงชงน้ำดื่ม บางคนดื่มแล้วเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขโดย ต้มรวมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย (เช่น กระวาน กานพลู อบเชย) เพื่อแต่งรสและบรรเทาอาการไซ้ท้อง มะขามแขก เหมาะกับคนสูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำแต่ควรใช้เป็นครั้งคราว
ข้อห้าม : ผู้หญิงมีครรภ์ หรือ มีประจำเดือน ห้ามรับประทาน สารเคมี : ใบและฝักพบสารประกอบพวก anthraquinones เช่น sennoside A.B.C.D. aloe emodin , emodin , rhein , physcion , และสาร anthrones dianthrones
คุณค่าทางโภชนาการของมะขามแขก
การแปรรูปของมะขามแขก
ปัจจุบันมีการนำมะขามแขกมาแปรรูปเป็นสินค้าอย่างหลากหลาย เช่น มะขามแขกแคปซูล ยาชงสมุนไพรมะขามแขก เป็นต้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10998&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com