มะดัน ผลผิวเรียบเป็นมันลื่น มีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด

มะดัน

ชื่ออื่นๆ : ส้มมะดัน, ส้มไม่รู้ถอย

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia schomburgkiana Pierre

ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE

ลักษณะของมะดัน

ต้น เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 7-10 เมตร แตกกิ่งก้านออกเป็นพุ่ม ลักษณะของเปลือกต้นจะเรียบ สีน้ำตาลอมดำ กิ่งแขนงมีเปลือกสีเขียวเข้ม

ใบ เป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม รูปขอบขนาน ขอบใบเรียบออกเรียงสลับกัน โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบลื่น

ดอก  เป็นดอกเดี่ยวหรือออกดอกเป็นกระจุกประมาณ 3-6 ดอก โดยดอกจะออกตามซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอมส้มนิด ๆ ดอกมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและดอกเพศผู้ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ค่อนข้างกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ คล้ายรูปแกมรูปไข่ ส่วนปลายกลีบจะมน และดอกเพศจะมีเกสรเพศผู้อยู่ 10-12 อัน  ออกดอกประมาณปีละ  2  ครั้ง  ระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน และระหว่างเดือนธันวาคม – มกราคม

ผล ลักษณะของผลจะคล้ายรูปรีปลายแหลม ผลมีสีเขียว ลักษณะผิวเรียบเป็นมันลื่น ผลมีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด ด้านในผลมีเมล็ดประมาณ 3-4 เมล็ดติดกัน เมล็ดแข็งและขรุขระ โดยในผลจะมีวิตามินซีสูงและยังมีสารอาหารหรือสารสำคัญอย่างเบตาแคโรทีน รวมไปถึงแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แคลเซียม เหล็ก ฟอสฟอรัส เป็นตัน จะติดผล 2  ครั้ง  ระหว่างเดือนสิงหาคม – ตุลาคม  และระหว่างเดือนเมษายน – มิถุนายน

ดอกมะดัน
ดอกมะดัน ดอกมีสีเหลืองอมส้ม
ผลมะดัน
ผลมะดัน ผลสีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลื่น

การขยายพันธุ์ของมะดัน

การเพาะเมล็ด การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่มะดันต้องการ

ประโยชน์ของมะดัน

  • ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้สด โดยจิ้มกับพริกเกลือ
  • ผลมีรสเปรี้ยวจัด ใช้แทนมะนาวได้ เช่น การตำน้ำพริก น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกทรงเครื่อง น้ำพริกสับกากหมู หรือใช้ใส่ในแกงที่ต้องการความเปรี้ยวอย่างแกงส้มหรือต้มยำ เป็นต้น
  • ยอดอ่อนนำมาใส่ต้มปลา ต้มไก่ จะให้รสเปรี้ยวแทนมะนาวได้และยังทำให้รสชาติของอาหารหวานและหอมขึ้นด้วย
  • ยอดอ่อนและใบอ่อนใช้รับประทานเป็นผักได้

สรรพคุณทางยาของมะดัน

  • ผล ช่วยแก้อาการคอแห้ง ช่วยทำให้ชุ่มชื่นคอ
  • ใบและราก ปรุงเป็นยาต้มรับประทานแก้กระษัย
  • ราก เป็นยาระบายอ่อนๆ โดยปรุงเป็นยาต้ม

คุณค่าทางโภชนาการของมะดัน

การแปรรูปของมะดัน

ผลมะดันนำมาดองน้ำเกลือ  มะดันแช่อิ่ม หรือ มะดันดองแช่อิ่ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11849&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment