มะตูม ผลใช้รับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง

มะตูม

ชื่ออื่นๆ : มะปิน (ภาคเหนือ) กระทันตาเถร, ตุ่มเต้ง, ตูม (ปัตตานี) มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : อินเดีย รวมทั้งในศรีลังกา แหลมมลายูตอนเหนือ เกาะชวา และฟิลิปปินส์

ชื่อสามัญ : มะตูม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aegle marmelos (L.) Corr. Serr

ชื่อวงศ์ : Rutaceae

ลักษณะของมะตูม

ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร เปลือกต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว

ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบปลาย รูปไข่ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-15 ซม. ปลายใบแหลม แผ่นใบบางเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบย่อยใบปลายจะนาวกว่าใบที่คู่กัน

ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กลับยาว ด้านนอกสีเขียวอ่อน ด้านในสีขาวนวล มีน้ำเมือก มีกลิ่นหอม ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม

ผล รูปรีกลมหรือยาว ผิวเรียบเกลี้ยง เปลือกหนา แข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อในสีส้มปนเหลือง นิ่ม เมล็ดมีจำนวนมาก ติดผลระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์

ต้นมะตูม
ต้นมะตูม เปลือกต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว

การขยายพันธุ์ของมะตูม

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะตูมต้องการ

ประโยชน์ของมะตูม

  • ผลให้สีเหลือง ใช้ย้อมผ้า
  • ใบอ่อน รับประทานเป็นอาหาร
  • ผลมะตูมใช้รับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง น้ำจากผลเมื่อนำไปกรองและเติมน้ำตาลจะได้เครื่องดื่มคล้ายน้ำมะนาว และยังใช้ในการทำ Sharbat ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้จากการนำเนื้อผลมะตูมไปผสมกับมะขาม
  • ใบอ่อนและยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสลัด นอกจากนี้ ผลยังใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และใช้เป็นยารักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน โรคลำไส้ ตาแห้งไข้หวัดธรรมดา และยังใช้รักษาอาการท้องผูกเรื้อรังได้เป็นอย่างดี
  • ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท เป็น พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ใบมะตูม
ใบมะตูม แผ่นใบบางเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ปลายใบแหลม

สรรพคุณทางยาของมะตูม

ส่วนที่ใช้  ผลโตเต็มที่ ผลแก่จัด ผลสุก ผลอ่อน ใบ ราก

  • ผลโตเต็มที่  ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแห้งคั่วให้เหลือง ชงรับประทาน แก้ท้องเดิน ท้องเสีย ท้องร่วง โรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก
  • ผลแก่จัดแต่ยังไม่สุก นำมาเชื่อมรับประทานต่างขนมหวาน จะมีกลิ่นหอม และรสชวนรับประทาน บำรุงกำลัง รักษาธาตุ ขับลม
  • ผลสุก  รับประทานต่างผลไม้ เป็นยาระบายท้อง และยาประจำธาตุของผู้สูงอายุ ที่ท้องผูกเป็นประจำ
  • ใบ ใส่แกงบวช เพื่อแต่งกลิ่น
  • ราก แก้หืด หอบ แก้ไอ แก้ไข้ ขับลม แก้มุตกิต
ผลมะตูม
ผลมะตูม ผลกลม ผิวเรียบเกลี้ยง เปลือกหนา แข็ง ผลอ่อนสีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

ใช้ผลโตเต็มที่ ฝานหากแห้ง คั่วให้เหลือง ชงน้ำดื่ม ใช้ 2-3 ชิ้น ชงน้ำเดือดความแรง 1 ใน 10 ดื่มแทนน้ำชาหรือชงด้วยน้ำเดือด 2 ถ้วยแก้ว ดื่มครั้งละครึ่งถ้วยแก้ว

สารเคมี :

ผลมะตูม ประกอบด้วยสารที่มัลักษณะเป็นเมือกๆ คือ mucilage,pectin,tannin,volatile oil และสารที่มีรสขม

ใบ มี aegeline (steroidal alkaloid) aeglenine,coumarin

การแปรรูปของมะตูม

ผลแก่จัด นำมาเชื่อมทำขนมหวาน  ผลโตเต็มที่ นำมาฝานตากแห้ง ชงรับประทาน

มะตูมแห้ง
มะตูมแห้ง ฝานตากแห้ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9286&SystemType=BEDO
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_10_5.htm
http://hort.ezathai.org/?p=509
https://www.flickr.com

3 Comments

Add a Comment