มะปราง ผลทรงกลมรูปไข่ ปลายเรียวแหลม

มะปราง

ชื่ออื่นๆ : บักปราง (ภาคอีสาน) มะผาง (ภาคเหนือ) ปราง (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย ลาว พม่า และมาเลเซีย

ชื่อสามัญ : Marian Plum , Plum Mango

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouea macrophylla Griffith

ชื่อวงศ์ : Anacardiaceae

ลักษณะของมะปราง

ต้น มะปรางเป็นไม้ผลเมืองร้อน ไม้ยืนต้นที่มีผู้รู้จักแพร่หลาย มีผลคล้ายฟองไข่นกพิราบ เมื่อดิบมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่มีสีเหลือง มีทั้งรสเปรี้ยว รสหวาน และรสเปรี้ยวอมหวาน ลำต้น มะปรางเป็นไม้ผลที่มีทรงต้นค่อนข้างแหลม มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบต้นโตมีขนาดสูง 15-30 เซนติเมตร มีรากแก้วแข็งแรง

ใบ มะปรางเป็นไม้ผลที่มีใบมาก ใบเรียว ขนาดใบโดยเฉลี่ยกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 14 เซนติเมตร ปีหนึ่งมะปรางจะแตกใบอ่อน 1-3 ครั้ง

ดอก มะปรางจะมีดอกเป็นช่อ เกิดบริเวณปลายกิ่งแขนง ช่อดอกยาว 8-15 เซนติเมตร เป็นดอกสมบูรณ์เพศ (เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน) ดอกบานจะมีสีเหลือง ในไทยออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

ผล มีลักษณะทรงกลมรูปไข่และกลม ปลายเรียวแหลม มะปรางช่อหนึ่งมีผล 1-15 ผล ผลดิบมีสีเขียวอ่อน-เขียวเข้มตามอายุของผล ผลสุกมีสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เปลือกผลนิ่ม เนื้อสีเหลืองแดงส้มออกแดงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ รสชาติหวาน-อมหวานอมเปรี้ยว หรือเปรี้ยว-เปรี้ยวจัด ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

เมล็ด มะปรางผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด ส่วนผิวของกะลาเมล็ดมีลักษณะเป็นเส้นใย เนื้อของเมล็ดทั้งสีขาวและสีชมพูอมม่วง รสขมฝาดและขม ลักษณะเมล็ดคล้ายเมล็ดมะม่วง หนึ่งเมล็ดเพาะกล้าได้ 1ต้น เก็บผลผลิตประมาณปลายเดือนมกราคม -ปลายเดือนกุมภาพันธ์

มะปราง
มะปราง ไม้ยืนต้น แผ่นใบแข็งกรอบ ปลายใบเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของมะปราง

ใช้เมล็ด/มะปรางเป็นไม้ผลที่เติบโตช้า ขยายพันธุ์ได้ยาก และใช้เวลาขยายพันธุ์ยาวนานกว่าไม้ผลที่สำคัญบางชนิด การขยายพันธุ์ที่นิยมกันมาก
การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์วิธีนี้ง่าย และสามารถทำได้จำนวนมาก มีข้อเสียที่มีการกลายพันธุ์ และให้ผลผลิตช้า ประมาณ 7-8 ปี
อุปกรณ์ที่ใช้เพาะเมล็ด
1.เมล็ดพันธุ์มะปรางที่สมบูรณ์
2.ถุงพลาสติกสีดำขนาด 4X7 นิ้ว หรือ 5X9 นิ้ว
3.ดินปลูก ดินร่วนผสมปุ๋ยคอก ขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 3:1:2
4.บัวรดน้ำ
5.ผ้าพลาสติกปูพื้น
6.ปุ๋ยทางใบ
7.สารเคมีป้องกันแมลง

ธาตุอาหารหลักที่มะปรางต้องการ

ประโยชน์ของมะปราง

มะปรางรับประทานได้ทั้งผลดิบและผลสุก เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและเบตาแคโรทีนสูง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

มะปราง-สุก
มะปรางผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลืองส้ม เปลือกผลเรียบเป็นมัน

สรรพคุณทางยาของมะปราง

  • ราก  แก้ไข้กลับ ถอนพิษสำแดง
  • ใบ  ยาพอกแก้ปวดศีรษะ
  • น้ำจากต้น  ยาอมกลั้วคอ

คุณค่าทางโภชนาการของมะปราง

การแปรรูปของมะปราง

มะปราง ผลดิบนิยมนำมารับประทานกับน้ำปลาหวาน  หรือนำมาแช่อิ่ม  ผลสุกนำมาทำมะปรางลอยแก้ว เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11115&SystemType=BEDO
www.flickr.com

5 Comments

Add a Comment