มะพูด ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้

มะพูด

ชื่ออื่นๆ : ไข่จระเข้, ตะพูด, ส้มปอง, ส้มม่วง (จันทบุรี) พะวาใบใหญ่ (จันทบุรี, ชลบุรี) ปะหูด (ภาคเหนือ) ปะหูด, มะหูด (ภาคอีสาน) จำพูด, มะพูด (ภาคกลาง) ตะพูด, พะวา, ประหูด, ประโหด, ประโฮด, มะนู (เขมร) ปะพูด

ต้นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Garcinia

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia dulcis (Roxb.) Kurz

ชื่อวงศ์ :  CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE

ลักษณะของมะพูด

ต้น  ไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงของต้นประมาณ 7-10 เมตร (บ้างว่ามีความสูงประมาณ 15 เมตร) เรือนยอดเป็นกลมกลมหรือเป็นรูปไข่ เป็นทรงพุ่มแน่นทึบ ลำต้นตั้งตรง

ใบ  ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกหรือแกมรูปขอบขนาน โคนใบกว้างมนตัดตรง เว้าเล็กน้อยคล้ายกับรูปหัวใจและค่อย ๆ สอบเรียวเล็กไปที่ปลายใบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 8-12 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15-25 เมตร แผ่นใบมักเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบเหนียวและหนาคล้ายแผ่นหนัง หลังใบเรียบลื่นเป็นมัน สีเขียวเข้ม ส่วนท้องใบมีขนละเอียด แต่บางครั้งก็เกลี้ยง เมื่อแห้งเป็นสีเหลืองอมสีเทา ส่วนก้านใบสั้นย่นขรุขระยาวประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร และมีขนบาง ๆ ขึ้นปกคลุม

ดอก ออกดอกเป็นช่อ ช่อละประมาณ 3-5 ดอก โดยจะออกดอกตามซอกใบหรือตามแผลใบและตามกิ่งก้าน ดอกเป็นสีขาวอมเหลือง ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบซ้อนกันอยู่ ดอกมีลักษณะตูมเป็นรูปทรงกลม ส่วนกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม หนาและเป็นสีเหลืองอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร บานเป็นรูปถ้วยโถ โดยจะออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือเป็นรูปไข่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-6 เซนติเมตร ผิวผลเรียบและเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลืองสดอมสีส้ม เนื้อในผลเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยวอมหวาน ภายในผลมีเมล็ดประมาณ 2-5 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปรี สีน้ำตาล โดยจะติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

ต้นมะพูด
ต้นมะพูด ลำต้นตั้งตรง ใบเป็นรูปใบหอกเนื้อใบเหนียวและหนาคล้ายแผ่นหนัง

การขยายพันธุ์ของมะพูด

ใช้เมล็ดและการใช้กล้าปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่มะพูดต้องการ

ประโยชน์ของมะพูด

ผลสุกมีรสหวานอมเปรี้ยว ใช้รับประทานเป็นผลไม้
ผลดิบมีรสเปรี้ยว ใช้แทนมะนาวในการทำแกงส้มกุ้งสดได้
ใบและเปลือกต้นใช้สกัดย้อมสีเส้นไหม โดยจะให้สีเหลืองคล้ายสีเหลืองของดอกบวบ ให้สีเหลืองสด หรือ สีน้ำตาล
ต้นมะพูดเป็นไม้ยืนต้นที่มีทรงพุ่มสวยงาม ใบและผลเด่น จึงใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและปลูกเพื่อให้ร่มเงาได้ เช่น ปลูกในบริเวณศาลา ใกล้ทางเดิน ริมน้ำ ในสวนผลไม้

ผลอ่อนมะพูด
ผลอ่อนมะพูด สีเขียว ผิวผลเรียบและเป็นมัน

สรรพคุณทางยาของมะพูด

  • ราก มีรสจืด เป็นยาแก้ไข้  แก้อาการร้อนใน ถอนพิษผิดสำแดง
  • ผล (น้ำคั้นจากผล) ช่วยขับเสมหะ กัดเสมหะ แก้อาการเจ็บคอ แก้อาการไอ
ผลมะพูดสุก
ผลมะพูดสุก สีเหลืองสดอมสีส้ม เนื้อในผลเป็นสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของมะพูด

การแปรรูปของมะพูด

แปรรูปเป็นน้ำผลไม้และผลไม้กวน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11498&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment