มะม่วงน้ำดอกไม้ ภาษาอังกฤษ การปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้

มะม่วงน้ำดอกไม้

ชื่ออื่นๆ :  มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้

ต้นกำเนิด : มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นมะม่วงท้องถิ่นในไทย ปัจจุบันพบปลูกในทุกภาค

ชื่อสามัญ :  มะม่วงน้ำดอกไม้ Mango tree Nam Dork Mai, Golden Mango, Yellow Mango

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Mangifera indica Linn.

ชื่อภาษาอังกฤษ : Barracuda Mango

ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE   

ลักษณะของมะม่วงดอกไม้

ต้น มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นมะม่วงประเภทรับประทานสุก ทรงพุ่มโปร่ง เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 15-20 ปี ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งน้อย แลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นสีดำอมเทา

ต้นมะม่วงน้ำดอกไม้
ต้นมะม่วงน้ำดอกไม้ ลำต้นแตกกิ่งน้อย

ใบ  ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันบนกิ่งแขนง ใบมีรูปหอก โคนใบสอบแหลม ปลายใบแหลม ขอบใบโค้งเป็นลูกคลื่น แผ่นใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม และเป็นมัน

ดอก  จะออกดอกเป็นช่อ ดอกมีสีขาวนวล มีขนาดเล็ก มีกลิ่นหอม มีก้านดอกยาว ดอกจะออกตามปลายกิ่ง

ดอกมะม่วงน้ำดอกไม้
ดอกมะม่วงน้ำดอกไม้ ดอกสีขาวนวล มีกลิ่นหอม

ผล ผลมีขนาดใหญ่ หนักประมาณ 400 กรัม ผลอ้วนเกือบกลมหัวใหญ่ปลายแหลม ผลค่อนข้างยาว เนื้อมาก เมล็ดเล็ก มีผิวบาง เมื่อดิบมีรสเปรี้ยว ผิวสีเขียวนวล เนื้อแน่น เมื่อผลสุกมีผิวสีเหลือง กลิ่นหอม เนื้อละเอียดมีเสี้ยนน้อย รสหวาน

น้ำดอกไม้
มะม่วงน้ำดอกไม้ ผลกลมรี เปลือกบาง

การขยายพันธุ์ของมะม่วงน้ำดอกไม้

พันธุ์มะม่วงน้ำดอกไม้ น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้ทะวาย น้ำดอกไม้สีทองเบอร์ 4 น้ำดอกไม้มัน แนะนำควรเป็นการขยายพันธุ์แบบทาบกิ่ง ติดตา หรือเสียบยอด

การติดดอก มกราคม – กุมภาพันธ์ 
การติดผล เมษายน – พฤษภาคม

มะม่วงน้ำดอกไม้ เป็นมะม่วงท้องถิ่นในไทย ปัจจุบันพบปลูกในทุกภาค และมีการปลูกเพื่อการค้ามากในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก

มะม่วงน้ำดอกไม้ มีหลายพันธุ์ เช่น น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้ทะวาย น้ำดอกไม้สีทองเบอร์ 4 น้ำดอกไม้มัน เป็นต้น แต่ละพันธุ์มีความต่างกันเช่น

วิธีการปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้

นิยมปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ในช่วงต้นฝน เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน

  1. ขุดหลุมปลูกเป็นแถวตามแนวยาวของแปลงในทิศขวางกับดวงอาทิตย์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับลักษณะแปลง ระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 6-8 เมตร หลุมขนาด 50 เซนติเมตร และลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม ประมาณ 6-8 เมตร
  2. ผสมปุ๋ยคอก ประมาณ 3-5 กำมือ/หลุม และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณ 1 กำมือ/หลุม ลงก้นหลุม พร้อมเกลี่ยหน้าดินลงคลุกให้เข้ากัน นอกจากนั้น อาจเพิ่มด้วยหินฟอสเฟต ประมาณ 2-3 กำมือ/หลุม
  3. ฉีกถุงเพาะออก นำต้นกล้าลงปลูก พร้อมเกลี่ยดินกลบให้พูนโคนต้นขึ้นมาเล็กน้อยปักไม้ไผ่ลงข้างลำต้น พร้อมผูกมัดด้วยเชือกฟาง

การดูแลรักษามะม่วงน้ำดอกไม้

  1. หลังปลูกในปีแรก หากบางวันที่ฝนทิ้งช่วง ให้รดน้ำวันเว้นวัน เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าแล้ง ให้น้ำวันเว้นวัน
  2. ในระยะติดผลที่ 3-4 ปี หลังปลูก ให้น้ำวันเว้นวัน (วันที่ฝนไม่ตกหรือหน้าดินแห้งมาก) ทั้งในระยะออกดอก และติดผล
  3. หากจัดทำร่องน้ำ และปล่อยให้มีน้ำขัง จะช่วยให้ต้นมะม่วงได้รับน้ำที่เพียงพอตลอดเวลา
  4. การใส่ปุ๋ยในระยะ 1-3 ปีแรก ที่ต้นเติบโต ให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝน และอีกครั้งปลายฤดูฝน ใส่ปุ๋ยคอก 3-5 กำมือ/ต้น ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 1-2 กำมือ/ต้น
  5. ระยะติดผล หลังปลูก 3-4 ปี ให้ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง ครั้งแรกในระยะก่อนออกดอกหรือออกดอก ครั้งที่ 2 ใส่หลังเก็บผล ระยะออกดอก ใส่ปุ๋ยในชนิดเดียวกับระยะ 1-3 ปีแรก แต่เปลี่ยนปุ๋ยเคมีเป็นสูตร 8-24-24 หรือ 10-10-20 ระยะออกดอก ใส่ปุ๋ยในชนิด และอัตราเช่นเดียวกับระยะ 1-3 ปีแรก

โรคและแมลงที่สำคัญ

หนอนเจาะลำต้น เพลี้ยหอย เพลี้ยแปลง โรคแอนแทรคโนส โรคราแป้ง โรคช่อดอกดำ โรคสะแคบ

การใช้ประโยชน์ของมะม่วงน้ำดอกไม้

  1. เนื้อไม้ของต้นมะม่วง สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้
  2. ใช้ประกอบอาหารหรือใช้รับประทานเป็นของว่างได้หลากหลาย เช่น ทำน้ำพริก ยำมะม่วง ต้มยำ เมี่ยงส้ม หรือการทำเป็นมะม่วงน้ำปลาหวาน ข้าวเหนียวมะม่วง คั้นเป็นน้ำผลไม้ 
  3. ใบแก่ของมะม่วงใช้เป็นสีย้อมผ้าให้เป็นสีเหลือง
  4. ทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้าด้วยการใช้มะม่วงสุกมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ จากนั้นใช้ช้อนบดขยี้เนื้อมะม่วงให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก จะทำให้ผิวหน้าดูสะอาดเกลี้ยงเกลา รูขุมขนดูกระชับ ผิวเรียบเนียนไร้รอยเหี่ยวย่น
  5. รับประทานมะม่วงก็ช่วยทำให้สดชื่นมีชีวิตชีวาได้เหมือนกัน มะม่วงมีวิตามินซีสูง จึงช่วยต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี มะม่วงมีวิตามินเอ วิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เพราะอุดมไปด้วยวิตามินเอและเบตาแคโรทีน เป็นผลไม้ที่มีส่วนช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยทำให้ผ่อนคลายและหลับสบายยิ่งขึ้น ช่วยทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ ปรับสมดุลภายใน
มะม่วงน้ำดอกไม้
มะม่วงน้ำดอกไม้ ผลค่อนข้าวยาว เปลือกบาง

คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงน้ำดอกไม้

การแปรรูปของมะม่วงน้ำดอกไม้

แปรรูปเป็นมะม่วงดอง เนื่องจากมีรสเปรี้ยวสูง ส่วนผลสุกแปรรูปเป็นมะม่วงกวนหรือ มะม่วงในน้ำเชื่อม มะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง และพายมะม่วง เป็นต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.doa.go.th, https://adeq.or.th/
ภาพประกอบ : https://rspgdb.bru.ac.th/, https://www.flickr.com/, www.simummuangmarket.com

One Comment

Add a Comment