มะม่วงหิมพานต์ หัวครก ยาโห้ย พืชเศรษฐกิจทำรายได้ของไทย
ชื่ออื่นๆ : กาหยู กาหยี เม็ดล่อ ยาร่วง หัวครก ยาโห้ย
ต้นกำเนิด : บราซิล
ชื่อสามัญ : Cashew Nut Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anacardium occidentale Linn.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ลักษณะของมะม่วงหิมพานต์
มะม่วงหิมพานต์ เป็นต้นไม้ตระกูลเดียวกับมะม่วง จำแนกตามสีของผลมี 2 พันธุ์คือ ผลสุกสีเหลืองจัด
และผลสุกสีแดงคล้ำ มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีความสูง 10-12 เมตร ต้นเตี้ย สยายกิ่งก้านไม่สม่ำเสมอ ใบจัดเรียงเป็นแบบเกลียว ผิวมันลื่น รูปโค้งจนถึงรูปไข่ ความยาว 4-22 เซนติเมตร และกว้าง 2-15 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ส่วนดอกนั้นเกิดจาก ที่ยาวถึง 26 เซนติเมตร แต่ละดอกตอนแรกมีสีเขียวซีด จากนั้นสีสดเป็นแดงจัด มี 5 กลีบ ปลายแหลม เรียว ยาว 7-15 มิลลิเมตร ผลแท้ของมะม่วงหิมพานต์นั้นเป็นผลเมล็ดเดียว รูปไต หรือรูปนวมนักมวย งอกออกจากปลายของผลเทียม ก้านดอกจะขยายตัวออกมาเป็นผลเทียม ภายในผลแท้นั้น เป็นเมล็ดเดี่ยว แม้ว่าโดยทั่วไปจะมองว่าส่วนเนื้อขาวนวลนั้นเป็นผลที่มีเปลือกแข็ง (nut) แต่ในทางพฤกษศาสตร์ถือว่า เป็นเมล็ด (seed) อย่างไรก็ตาม ส่วนของผลแท้นั้น นักพฤกษศาสตร์บางท่านถือว่าเป็นผลที่มีเปลือกแข็งก็มี เมล็ดนั้นห่อหุ้มด้วยเปลือกสองชั้น ประกอบด้วยยางฟีโนลิก (caustic phenolic resin) น้ำมัน urushiol, พิษที่ระคายเคืองต่อผิวหนังอย่างรุนแรง บางคนแพ้มะม่วงหิมพานต์ แต่ปกติถือว่าก่อให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่าผลเปลือกแข็งชนิดอื่นๆ ออกดอกประมาณเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ผลจะเริ่มแก่และเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม มะม่วงหิมพานต์จะมีผลผลิตมากที่สุดเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน
การขยายพันธุ์ของมะม่วงหิมพานต์
มะม่วงหิมพานต์สามารถขยายพันธุ์ได้ 2 แบบ คือ
1. การเพาะเมล็ด ปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ดี ทำการเพาะใส่ถุงขนาด 5×8 นิ้ว หรือปลูกลงในหลุมเลย โดยกดเมล็ดด้านเว้าลงให้จมจนมิดวางเมล็ดเอียง 45 องศา อายุต้นกล้าที่เพาะในถุงพลาสติกไม่ควรเกิน 4 เดือน ก่อนย้ายลงปลูก
2. การขยายพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ มีหลายวิธีคือ การตอน การติดตา การทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมที่สุดคือ การเสียบข้าง
ธาตุอาหารหลักที่มะม่วงหิมพานต์ต้องการ
–
ประโยชน์ของมะม่วงหิมพานต์
ผล ใช้รับประทานเป็นอาหาร ทำแยม น้ำส้มสายชู เครื่องดื่ม และไวน์ น้ำของผลมะม่วงหิมพานต์ ใช้เป็นยาแก้โรคกระเพาะ แก้อาเจียน เจ็บคอ ขับปัสสาวะ และขับเหงื่อ
สรรพคุณทางยาของมะม่วงหิมพานต์
- ยางจากผลสด ใช้เป็นยารักษาหูด
- เมล็ด แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคผิวหนัง และแก้เนื้อหนังชาในโรคเรื้อน
- ยางจากต้น ใช้เป็นยารักษาหูด ทำลายตาปลา และแก้เลือดออกตามไรฟัน
ออกฤทธิ์ : ระคายเคืองต่อผิวหนัง
ส่วนที่เป็นพิษ : น้ำยาง
สารพิษ : Phenol
อาการ : บวมแดง พองเป็นตุ่มน้ำใส อาจลุกลามรุนแรงเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง
วิธีการรักษา :
- ล้างด้วยสบู่และน้ำสะอาด
- ทาด้วยครีมสเตียรอยด์ เช่น ครีม prednisolone 5% หรือ triamcinolone acetonide 0.025%-0.1% ทาวันละ 1-2 ครั้ง
- สำหรับอาการแพ้ปานกลางหรือรุนแรง จำเป็นต้องรับประทานเพร็ดนิโซโลน ครั้งละ 1 เม็ด หลังอาหารเช้า หรือ เช้า-เย็น อาการมักดีขึ้นภายใน 6-12 ชั่วโมง
- อาการแพ้รุนแรง อาจต้องรับประทานยานานถึง 14 วัน โดยลดขนาดลงมา ทุกวัน จนหยุด ภายใน 2 อาทิตย์
ออกฤทธิ์ : ระบบไหลเวียนของโลหิต
ส่วนที่เป็นพิษ : เนื้อในเมล็ด
สารพิษ : Cyanogenic glycoside
อาการ : อาเจียน กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน หายใจลำบาก กล้ามเนื้ออ่อนเปลี้ย กล้ามเนื้อกระตุก มึนงง ไม่รู้สึกตัว ชักก่อนจะหมดสติ มีอาการขาดออกซิเจน ตัวเขียว ถ้าได้รับมากจะโคม่าภายใน 10-15 นาที
วิธีการรักษา :
- ทำให้อาเจียน
- รีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อล้างท้อง
- ในกรณีที่อาการรุนแรงให้ดม amyl nitrite แล้วรีบล้างท้องด้วย 5% sodium thiosulfate หรือทำให้อาเจียน
- ฉีด soduim nitrite (3% solution at 2.5-5 ml/min.) ร่วมกับ sodium thiosulfate (50 ml of 25% solution,IV) อาจต้องให้ยาซ้ำ
- ให้ออกซิเจนและเครื่องช่วยหายใจ
คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงหิมพานต์
- เมล็ดมะม่วงหิมพานต์สด คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
- พลังงาน 2,314 kJ (553 kcal)
- คาร์โบไฮเดรต30.19 กรัม
- น้ำตาล 5.91 กรัม
- ใยอาหาร 3.3 กรัม
- ไขมัน43.85 กรัม
- โปรตีน18.22 กรัม
- วิตามิน
- ไทอามีน (บี1) .42 มิลลิกรัม
- ไรโบเฟลวิน (บี2) ) .06 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน (บี3) 1.06 มิลลิกรัม
- กรดแพนโทเทนิก (บี5 ) .86 มิลลิกรัม
- วิตามินบี6 .42 มิลลิกรัม
- โฟเลต (บี9) 25 ไมโครกรัม
- วิตามินซี .5 มิลลิกรัม
- แร่ธาตุ
- แคลเซียม 37 มิลลิกรัม
- เหล็ก 6.68 มิลลิกรัม
- แมกนีเซียม 292 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 593 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 660 มิลลิกรัม
- สังกะสี 61%) 5.78 มิลลิกรัม
การแปรรูปของมะม่วงหิมพานต์
เมล็ดมะม่วงหิมพานต์สามารถ
เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับมะม่วงหิมพานต์
References : www.bedo.or.th , https://medplant.mahidol.ac.th
รูปภาพจาก : www.darloup.com, www.feedipedia.org
เรียบเรียงข้อมูลโดย : เกษตรตำบล.คอม
2 Comments