มะม่วงเขียวเสวย
ชื่ออื่นๆ : มะม่วงเขียวเสวย
ต้นกำเนิด : อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ชื่อสามัญ : Mango (Khiew Sawoey)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indica L.
ชื่อวงศ์ : ANACARDIACEAE
ลักษณะของมะม่วงเขียวเสวย
ต้น ไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีอายุประมาณ 10-25 ปี ลำต้นสูงประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกหลักกิ่ง และกิ่งแขนงน้อย จนแลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดขนาดเล็ก สีดำอมเทา
ใบ ออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงสลับกันที่ปลายกิ่ง ใบค่อนข้างรียาว สีเขียวเข้ม และเป็นมัน ขนาดใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ เส้นกลางใบมีสีขาวชัดเจน
ดอก มะม่วงเขียวเสวย ออกดอกเป็นช่อแขนง ซึ่งแต่ละแขนงประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยในช่อเดียวกันจะมีดอก 2 ชนิด คือ ดอกเพศผู้ ซึ่งมีจำนวนมาก (91.80%) และดอกกะเทย (8.20%) ที่สามารถพัฒนาเป็นผลได้ ทำให้มะม่วงพันธุ์นี้ติดผลน้อย ทั้งนี้ มะม่วงเขียวเสวย เป็นพันธุ์ที่ออกดอกช้า ดอกมะม่วงเขียวเสวยหลังการผสมเกสรแล้ว ทั้งกลีบเลี้ยง กลีบดอก และเกสรจะร่วงหล่นไปหมด คงเหลือรังไข่ที่พัฒนาเป็นผลรูปไข่ขนาดเล็ก และจานดอกที่เหี่ยวแห้งติดด้านล่างผล
ผล ผลมะม่วงเขียวเสวย มีลักษณะรียาว และแบนเล็กน้อย บริเวณขั้วผลมีขนาดใหญ่ และค่อยเล็กลงไปด้านท้ายด้านหลังผลมีลักษณะนูนออก และด้านหน้าผลคอดเล็กลง ขนาดผลกว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร มีน้ำหนักต่อผลประมาณ 300-335 กรัม ผลมะม่วงเขียวเสวย เมื่อยังอ่อนจะมีเปลือกสีเขียวเข้ม ส่วนเนื้อผลมีสีขาว และมีรสเปรี้ยว เมื่อแก่ เปลือกมีสีเขียวอมเทาหรือมีนวล ส่วนเนื้อมีสีขาวขุ่น มีรสหวานมัน และเมื่อสุก เปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เนื้อด้านในมีสีเหลือง เนื้อละเอียด และค่อนข้างแน่น ไม่เละง่าย ให้ผลผลิตช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน
เมล็ด ด้านในมีลักษณะเรียวยาว และค่อนข้างแบนตามลักษณะของผล เปลือกหุ้มเมล็ดหนาแข็ง และมีร่องเป็นริ้วตามแนวตั้ง
การขยายพันธุ์ของมะม่วงเขียวเสวย
การเพาะเมล็ด/กิ่งตอน/กิ่งทาบ
ธาตุอาหารหลักที่มะม่วงเขียวเสวยต้องการ
ประโยชน์ของมะม่วงเขียวเสวย
- นิยมรับประทานผลดิบหรือผลแก่เป็นหลัก เนื่องจาก ผลในระยะนี้จะมีสีขาวขุ่นหรือขาวขุ่นอมครีม เนื้อแน่น มีความกรอบ และมีรสหวานมัน จนได้รับขนานนามว่า “ราชินีของมะม่วงไทย”
- มะม่วงเขียวเสวยสามารถปลูกได้ทุกภาคทั่วประเทศและนิยมรับประทานผลดิบ
มะม่วงมีสรรพคุณที่สามารถช่วยในการต้านโรคและรักษาสุขภาพได้หลากหลายรูปแบบ นี่คือบางตัวอย่างของโรคที่มะม่วงอาจช่วยในการต้านหรือรักษา
- โรคเบาหวาน มะม่วงมีสารอาหารที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งโซมาโตล และเส้นใยที่ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล ทำให้มะม่วงเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีเสี่ยงต่อโรคเบาหวานหรือมีปัญหาเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือด
- โรคอ้วน เส้นใยในมะม่วงช่วยให้รู้สึกอิ่มในระยะเวลานานขึ้น และช่วยควบคุมการรับประทานอาหาร ซึ่งอาจช่วยลดความเครียดในการควบคุมน้ำหนัก
- โรคทางเดินอาหาร เส้นใยในมะม่วงช่วยกระตุ้นกระบวนการย่อยอาหารในทางเดินอาหาร ช่วยลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และปัญหาทางเดินอาหารอื่นๆ
- โรคเนื้องอก มะม่วงมีสารต้านออกซิเดชัน antioxidants ที่ช่วยปกป้องเซลล์ร่างกายจากการเสื่อมสภาพและการเจริญเติบโตผิดปกติของเนื้องอก
- โรคมะเร็ง บางวิจัยได้พบว่าสารต้านออกซิเดชันในมะม่วงอาจมีบทบาทในการป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง
- ระบบภูมิคุ้มกัน วิตามิน A และวิตามิน C ในมะม่วงช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
- สุขภาพผิวและเส้นผม วิตามิน A ในมะม่วงช่วยในการรักษาสุขภาพผิวและเส้นผม ช่วยบำรุงผิวให้เนียนนุ่ม และปกป้องผิวจากการเสื่อมสภาพ
- โรคอัลไซเมอร์ บางศึกษาได้พบว่าสารที่อยู่ในเปลือกมะม่วงอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
- ระบบทางเดินหายใจ วิตามิน C ในมะม่วงช่วยกระตุ้นระบบทางเดินหายใจ ช่วยลดอาการบวมและระคายเคืองในทางเดินหายใจ
สรรพคุณทางยาของมะม่วงเขียวเสวย
คุณค่าทางโภชนาการของมะม่วงเขียวเสวย
มะม่วงเขียวเสวยในปริมาณ 100 กรัม ให้พลังงาน 82 กิโลแคลอรี ประกอบไปด้วย
- น้ำ 78.50 กรัม
- โปรตีน 0.70 กรัม
- ไขมัน 0.4 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 18.10 กรัม
- กากใยอาหาร 2 กรัม
- เถ้า 0.30 กรัม
- แคลเซียม 2 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 28 มิลลิกรัม
- ธาตุเหล็ก 10 มิลลิกรัม
- โซเดียม 2 มิลลิกรัม
- เหล็ก 0.18 มิลลิกรัม
- โพแทสเซียม 197 มิลลิกรัม
- สังกะสี 0.10 มิลลิกรัม
- ไอโอดีน 3.0 ไมโครกรัม
- บีตา-แคโรทีน 56 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 4 ไมโครกรัม
- ไทอะมีน 0.02 มิลลิกรัม
- ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 26 มิลลิกรัม
- วิตามินอี 1.52 มิลลิกรัม
- น้ำตาล 7 กรัม
การแปรรูปของมะม่วงเขียวเสวย
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9725&SystemType=BEDO,
https://thaifcd.anamai.moph.go.th/, อุทยานการอาชีพชัยพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้อุทยาน-พรรณไม้, https://tnschool.ac.th/
www.flickr.com
มะม่วงเขียวเสวย ผลจะมีเปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อมีสีขาว รสเปรี้ยว เมื่อแก่เปลือกมีสีเขียวอมเทาหรือมีนวล เนื้อมีสีขาวขุ่น มีรสหวานมัน และเมื่อสุกเปลือกผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน เนื้อด้านในมีสีเหลือง เนื้อละเอียด และค่อนข้างแน่น ไม่เละง่าย