มะยมป่า
ชื่ออื่นๆ : กระเบื้องถ้วย, ย้อมผ้าระนาบ (กลาง), กริง, เปล้าขลิบทอง (ปราจีนบุรี), ค้อนหมา, ชวน, อ่วม (สุราษฎร์ธานี),คะนาง, ชะนาง (จันทบุรี), ทองฟ้า, ไพรสามกอ (ประจวบคีรีขันธ์),น้ำผึ้งใหญ่, ยมป่า(นครราชสีมา), มะงัน (ชลบุรี, ปราจีนบุรี), ยาโกร้ง (ยะลา), กะอวม
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : กระอวม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acronychia pedunculata (L.) Miq.
ชื่อวงศ์ : Rutaceae
ลักษณะของมะยมป่า
ลักษณะทางด้านพฤกษศาสตร์(Botanical description)
ลำต้น (Stem) เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงประมาณ 15 – 25 เมตร เรือนยอด กลมหรือรูปไข่ ยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาล ปกคลุมทั่วไป
เปลือก (Bark) ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ดหนาๆ
ใบ (Leaf) เป็นใบประกอบแบบขนนก(pinnately compound leaves) แบบชนิดปลายคู่ (even-pinnate) ยาว ประมาณ 45 – 55 ซม. มักจะรวมกันอยู่เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยรูปขอบขนาน (oblong) แกมรูปหอก(lanceolate) หรือ รูปไข่แกมรูปใบหอกค่อนข้างเบี้ยว
ไม่ได้สัดส่วน ขนาด กว้าง 2.7-4.5 ซ. ม. ยาว 9-14 ซม ใบย่อยติดอยู่เยื้องสลับกัน เล็กน้อย มีมากกว่า 10 คู่ขึ้นไป ปลายใบแหลม ท้องใบมีขน อ่อนนุ่มสีน้ำตาลเหลืองอยู่หนาแน่น เป็นมันคล้ายเส้นไหม หลังใบมีขนประปรายตามเส้นกลางใบและเส้นแขนงใบเท่านั้น ยอดอ่อนและก้าน ช่อใบมีขนละเอียดสีน้ำตาลคลุมทั่วไป
ดอก (Flower) เป็นดอกช่อ(inflorescence flower) แบบ panicle ขนาดเล็ก สีขาวหรือชมพูเรื่อๆ ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ๆปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 35 – 45 ซม. ทุกๆส่วนมีขนประปราย ดอกเพศผู้และเพศเมียจะอยู่ต่างดอกกัน โคนกลีบฐานดอกเชื่อมติดกัน เป็นรูปกรวยหงาย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกมี 5 กลีบ แต่ละกลีบไม่ติดกัน เกสรผู้มี 5 อัน ติดอยู่รอบๆฐานรังไข่ รังไข่รูปรีๆอยู่เหนือกลีบฐานดอก และโคนเกสรผู้ ภายในมีช่องเดียว มีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม และเป็นผลระหว่างเดือนมีนาคม- พฤษภาคม
ผล(Fruit) เป็นผลเดี่ยว (simple fruit) ประเภท ผลแห้ง (dry fruit) ชนิดแห้งแล้วไม่แตกแบบ samara มี ลักษณะเป็นครีบมีปีกยาวล้อมรอบ
คล้ายรูปกระสวยหรือ รูปหอกแบนๆ กว้างประมาณ 1 -1.5 ซ. ม. ยาว
5 – 6 ซม. สีน้ำตาลแดง
เมล็ด (Seed) เมล็ดแบนบาง มีจำนวนเมล็ดเพียงเมล็ดเดียวต่อผล
การขยายพันธุ์ของมะยมป่า
ใช้เมล็ด/ปกติอาศัยการขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะยมป่าต้องการ
ประโยชน์ของมะยมป่า
เนื้อไม้ (wood) ใช้ทำก้าน และกลักไม้ขีดไฟ ทำหีบใส่ของ เยื่อกระดาษ ไม้จิ้มฟัน เครื่องเล่นสำหรับเด็ก ไม้บรรทัด ไม้แบบหล่อคอนกรีต
ไม้ฟืน (wood fuel) ให้ค่าความร้อน ( ไม่มีข้อมูล) แคลลอรี่/ กรัม
ถ่านไม้ (Charcoal) ให้ค่าความร้อน ( ไม่มีข้อมูล) แคลลอรี่/ กรัม
สรรพคุณทางยาของมะยมป่า
ยาพื้นบ้านอีสานใช้ เปลือกต้น ผสมเนื้อมะพร้าวแก่ เหง้าขมิ้นชัน ตำทาแก้คัน รักษากลากเกลื้อน
ตำรายาไทย ใบและผล ใช้ประคบลดอาการปวดเมื่อย
ประเทศจีนและฮ่องกง ใช้ ทั้งต้น รักษาอาการปวด รักษาโรคปวดข้อรูมาติก แก้ท้องเสีย แก้ไอ แก้หอบหืดแก้อาการคัน แก้แผล รักษาแผลและผิวหนังตกสะเก็ด แก้ไข้ ห้ามเลือด กระตุ้นกำหนัด
คุณค่าทางโภชนาการของมะยมป่า
การแปรรูปของมะยมป่า
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12134&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com