มะยมแดง
ชื่ออื่นๆ : มะยมแดง, มะยมฝรั่ง, เชอรี่สเปน, มะยมหวาน, หมักยม, หมากยม
ต้นกำเนิด : ประเทศบราซิล
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Eugenia Uniflora
ชื่อวงศ์ : Mytaceae
ลักษณะของมะยมแดง
ต้น เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับรูปไข่ หรือรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด
ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก กลีบดอกเป็นสีขาวอมชมพู มีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล รูปทรงกลมแป้นคล้ายผลมะยม รอบผลแบ่งเป็นพูย่นๆ 7-8 พู ภายในมี 1 เมล็ด ผลดิบเป็นสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเป็นสีเหลืองและแดงตามลำดับ ติดผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
การขยายพันธุ์ของมะยมแดง
การใช้เมล็ด, การตอนกิ่ง
ธาตุอาหารหลักที่มะยมแดงต้องการ
ประโยชน์ของมะยมแดง
- ผลสุกรับประทานได้ รสชาติเปรี้ยวปนหวานชุ่มคอ
- ยอดอ่อนเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก ส้มตำ และนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา
- สำหรับผลมะยมแก่ นอกจากทำแกงได้แล้ว ผลมะยมแก่ยังเป็นผลไม้ โดยรับประทานสดเป็นผลไม้ จิ้มกับเกลือ น้ำปลาหวาน
- คนไทยเชื่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่ามะยมแดงเป็นไม้มงคล นิยมปลูกกันไว้ในบริเวณบ้าน
สรรพคุณทางยาของมะยมแดง
- ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
- เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
- ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
- ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
- ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง
คุณค่าทางโภชนาการของมะยมแดง
การแปรรูปของมะยมแดง
ผลสุกไปแปรรูปเป็นเครื่องดื่ม แยมมะยม มะยมดอง มะยมกวน มะยมเชื่อม เป็นต้น
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9243&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com