มะละกอ ผลไม้รับประทานสด กับเมนูอาหารสุดฮิต ส้มตำมะละกอ

มะละกอ ผลไม้รับประทานสด กับเมนูอาหารสุดฮิต ส้มตำมะละกอ

ชื่ออื่นๆ : มะก้วยเทศ (ภาคเหนือ) หมักหุ่ง (ลาว,นครราชสีมา,เลย) ลอกอ (ภาคใต้) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล)

ต้นกำเนิด : ทวีปอเมริกากลาง

ชื่อสามัญ : Papaya.

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papyya L.

ชื่อวงศ์ : CARICACEAE

ชื่อภาษาอังกฤษ : Papaya

ลักษณะของมะละกอ

มะละกอ เป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้ มะละกอให้ผลผลิตในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

ต้นมะละกอ
ต้นมะละกอ

การขยายพันธุ์ของมะละกอ

ใช้เมล็ด/ขยายพันธ์โดยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะละกอต้องการ

ประโยชน์ของมะละกอ

นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหาอาหารไม่ย่อยก็ได้

ใบมะละกอ
ใบมะละกอ ใบเป็นใบเดี่ยว มี 5-9 แฉก

สรรพคุณทางยาของมะละกอ

  • ใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคได้
    แก้อาการขัดเบา ใช้รากสด (1 กำมือ) 70-90 กรัม รากแห้ง 25-35 กรัม หั่นต้มกับน้ำ กรองดื่มเฉพาะน้ำ วันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา(75 มิลลิลิตร) ดื่มก่อนอาหาร
  • เป็นยาระบายอ่อนๆ การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากไยอาหาร ดังนั้นเนื้อผลสุกมะละกอจะช่วยระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก
  • ผลสุก – เป็นมีสรรพคุณป้องกัน หรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย
  • ยางจากผลดิบ – เป็นยาช่วยย่อยโปรตีน ฆ่าพยาธิได้
  • รากมะละกอ – ขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา
  • ใช้เป็นยาระบาย :ใช้ผลสุกไม่จำกัดจำนวน รับประทานเป็นผลไม้
  • เป็นยาช่วยย่อย:
    1. ใช้เนื้อมะละกอดิบไม่จำกัด ประกอบอาหาร เช่น ส้มตำ แกง เป้นผักจิ้ม
    2. ยางจากผลดิบ หรือจากก้านใบ ใช้ 10-15 กรัม หรือถ้าเป็นตัวยาช่วยย่อย เพราะในยางมะละกอมีสารที่เรียกว่า Papain
  • เป็นยากัน หรือแก้โรคลักปิดลักเปิด
  • โรคเลือดออกตามไรฟัน: ใช้มะละกอสุกรับประทานเป็นผลไม้ ให้วิตามินซีสูง
  • เท้าบวม: เอาใบมะละกอสดตำให้แหลกผสมกับเหล้าขาว ใช้พอกเท้าที่บวมลดอาการบวมลงได้
  • แก้เคล็ดขัดยอก: ใช้รากมะละกอสดตำให้แหลกผสมเหล้าโรงพอก
  • โดนหนามตำหรือหนามหักคาเนื้อใน: ให้บ่งปากแผลเปิดออก เอายางมะละกอดิบใส่หนามจะหลุดออก
  • คันเพราะพิษของหอยคัน: ให้ใช้ยางมะละกอดิบทาเช้า-เย็นจนหาย
  • เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง: รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ใช้รากมะละกอตัวผู้แช่เหล้าขาวให้ท่วมยาไว้ 7 วัน และกรองเอาน้ำใช้ทาแก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อเปลี้ยอ่อนแรง ลดอาการปวดบวม ให้เอาใบมะละกอสดย่างไฟหรือลวกกับน้ำร้อนแล้วประคบบริเวณที่ปวด หรือตำพอหยาบห่อด้วยผ้าขาวบางทำเป็นลูกประคบ
  • ถ้าโดนตะปูตำเป็นแผล: ให้เอาผิวลูกมะละกอดิบตำพอกแผล เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้ง แผลน้ำร้อนลวก ใช้เนื้อมะละกอดิบต้มให้สุกจนเปือย ตำพอกที่แผล แผลพุพอง ใช้ใบมะละกอแห้งกรอบบดเป็นผง ผสมกับน้ำกะทิพอเหนียวข้น ใช้พอกหรือทาที่แผลวันละ 2-3 ครั้ง
  • แก้ผดผืนคัน: ใช้ใบมะละกอ 1 ใบ น้ำมะนาว 2 ผล เกลือ 1 ช้อนชา ตำรวมกันให้ละเอียดเอาทั้งน้ำและเนื้อทาแผลบ่อยๆ
  • กลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปือย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้
ผลมะละกอดิบ
ผลมะละกอดิบ ผลเป็นรูปรี สีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของมะละกอ

มะละกอสุก 100 กรัมจะได้สารอาหาร

  • โปรตีน 0.5 กรัม 
  • ไขมัน 0.1 กรัม
  • แคลเซียม 24 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 0.6 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 4 มิลลิกรัม
  • ไทอะมีน 0.04 มิลลิกรัม
  • ไรโบฟลาวิน 0.04 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน 0.4 มิลลิกรัม
  • กรดแอสคอร์บิก (วิตามินซี) 70 มิลลิกรัม
ผลมะละกอสุก
ผลมะละกอสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม

การแปรรูปของมะละกอ

มะละกอสามารถนำมาแปรรูปเป็น  มะละกอสามรส มะละกอแช่อิ่ม มะละกออบแห้ง ทอฟฟี่มะละกอ มะละกอลอยแก้ว หรือ นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหารก็ได้

แกงส้มมะละกอ
แกงส้มมะละกอกุ้งสด

เกษตรตำบล ศูนย์รวมความรู้การเกษตร ปลูกได้ ขายเป็น เน้นเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีเกษตร กับมะละกอ

References : www.bedo.or.th

รูปภาพจาก : www.flickr.com, www.youtube.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย :  เกษตรตำบล.คอม

Add a Comment