มะลุลี ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมตลอดวัน

มะลุลี

ชื่ออื่นๆ : มลุลี, มะลิซ่อม, มะลิพวง, มะลิเลื้อย

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : มะลุลี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum multiflorum (Burm. f.) Andr.

ชื่อวงศ์ : Oleaceae

ลักษณะของมะลุลี

ลำต้น : ไม้เถาเลื้อยที่มีดอกสีขาวคล้ายมะลิ เนื้อแข็ง อายุหลายปี ลำต้นสีเขียวอ่อน กิ่งเปราะ แตกหักง่าย

ใบ : ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 6-9 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนป้าน ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบอ่อนและยอดอ่อนมีขนนุ่ม

ดอก  : สีขาว มีกลิ่นหอมตลอดวัน และหอมแรงขึ้นในช่วงเย็น บานพร้อมกันเกือบทั้งช่อ ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามปลายกิ่ง ช่อละ 15-30 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉก ดอกรูปเข็ม โคนกลีบดอก เป็นหลอดแคบ ปลายแยก 6-9 แฉก รูปขอบขนาน ดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5-3 เซนติเมตร

ผล  : ผลสด ทรงกลมชนาดเล็ก เมื่อแก่มีสีดำ

ต้นมะลุลี
ต้นมะลุลี ไม้เถาเลื้อย เนื้อแข็ง ลำต้นสีเขียวอ่อน
ดอกมะลุลี
ดอกมะลุลี ดอกสีขาว ออกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่ง

การขยายพันธุ์ของมะลุลี

ใช้หัว/เหง้า/หน่อ/แยกเหง้า ปลูกได้เลย

ธาตุอาหารหลักที่มะลุลีต้องการ

ควรปลูกลงแปลงกลางแจ้งให้ได้รับแสงแดดเต็มที่ จะออกดอกดก

ประโยชน์ของมะลุลี

ปลูกเป็นไม้ดอกประดับบ้าน

สรรพคุณทางยาของมะลุลี

ใบ,ราก  ทำยาหยอดตา
ดอกแก่  แก้หืด บำรุงหัวใจ
ราก  ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน
ใบ ตำละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวใหม่ นำไปลนไฟ ทารักษาแผล ฝีผุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนม

วิธีใช้ : ใช้ดอกแห้ง 1.5-3 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่ม

คุณค่าทางโภชนาการของมะลุลี

การแปรรูปของมะลุลี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11445&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment