มะหวีด
ชื่ออื่นๆ : กะตีบ, แขกเต้า, ค้ำ, หวีด (ภาคเหนือ) มะกอกกาน (ภาคกลาง) อ้อยน้ำ (จันทบุรี)
ต้นกำเนิด : พบขึ้นตามป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น
ชื่อสามัญ : ตะคร้ำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garuga pinnata Roxb
ชื่อวงศ์ : BURSERACEAE
ลักษณะของมะหวีด
ต้น ไม้ต้นผลัดใบสูง10-20เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบหรือทรงกระบอก ลำต้นเปราตรง โคนต้นมักเป็นพูพอนต่ำๆ เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นสะเก็ดและล่อนเป็นหลุมตื้นๆ ทั่วไป
ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคลี่ เรียงสลับเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีใบย่อย 7-13 ใบ เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ขอบใบจักฟันเลื่อย กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 3-10 เซนติเมตร ปลายใบสอบโคนใบเบี้ยว
ดอก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เป็นดอกสมบูรณ์ ออกรวมเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง 3-5 มิลลิเมตร ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน
ผล ผลสดแบบมีเนื้อ เมล็ดเดียวทรงกลมรีเล็ก ขนาด 1.5-2 เซนติเมตร ปลายผลมีติ่งเมล็ดกลม
การขยายพันธุ์ของมะหวีด
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะหวีดต้องการ
ประโยชน์ของมะหวีด
- เนื้อไม้ แข็ง เหนียว ใช้ทำเสาบ้าน ด้ามเครื่องมือเกษตร ดุมล้อเกวียน ครก
สรรพคุณทางยาของมะหวีด
- ผล ทานเป็นยาบำรุงธาตุ หรือบำรุงกระเพาะอาหาร
- เปลือกต้น นำมาบีบเพื่อเอาน้ำ ซึ่งใช้เป็นยาแก้โรคท้องร่วงหรือทานแก้บิดก็ได้ หรืออาจนำมาแช่น้ำเป็นยาล้างแผลเรื้อรังได้ดีมาก ถ้าใช้ทาภายนอกจะเป็นยาห้ามเลือด
- ต้น นำต้นสดๆ มาคั้นเอาน้ำ แล้วใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตามัวเนื่องจากเยื่อตาอักเสบ
- ผล แก้บิด เป็นยาห้ามโลหิตและแช่ล้างบาดแผลเรื้อรัง
- ผลช่วยบำรุงธาตุน้ำคั้นจากใบรักษาโรคหืดน้ำฝาดจากเปลือกแก้บิดท้องร่วง(จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำชุมชนท้องถิ่น)
คุณค่าทางโภชนาการของมะหวีด
การแปรรูปของมะหวีด
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9279&SystemType=BEDO
www.forest.go.th, www.flickr.com
มะหวีด เรียกทั่วไปคือ ตะคร้ำ เนื้อไม้มีความแข็งและเหนียว