มะเกลือ
ชื่ออื่นๆ : มักเกลือ (เขมร-ตราด) มักเกลือ, หมักเกลือ, มะเกลือ (ตราด) ผีเผา, ผีผา (ฉาน-ภาคเหนือ) มะเกือ, มะเกีย (ภาคเหนือ) เกลือ (ภาคใต้) มะเกลื้อ (ทั่วไป)
ต้นกำเนิด : เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่าและไทย
ชื่อสามัญ : มะเกลือ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff
ชื่อวงศ์ : EBENACEAE
ลักษณะของมะเกลือ
ต้น ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 8-15 เมตร กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่ม เปลือกนอกสีดำแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือแกมขอบขนาน กว้าง 1.5-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนหรือกลม ส่วนปลายใบสอบ ใบแก่เกลี้ยง ก้านใบยาว 5-10 มม. เมื่อแห้งเป็นสีดำ
ดอก ดอกต่างเพศอยู่ต่างต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบ ช่อหนึ่งๆ มีประมาณ 3 ดอก ดอกย่อย กลีบรองดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 4 แฉก กลีบดอกยาว 6-8 ซม. โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปเหยือกน้ำ ปลายแยกเป็น 4 แฉก เกสรผู้ 14-24 อัน ดอกเพศเมีย ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ก้านดอกยาว 1-3 มม. มีขนนุ่มปกคลุม เกสรผู้เทียม 8-10 อัน ผลกลม เกลี้ยง ขนาดผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. มีกลีบรองดอกติดอยู่ที่ขั้วผล 4 กลีบ ออกดอกเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคม
ผล ผลแก่จัดสีดำ เมื่อแห้งเปลือกเปราะ ผลดิบมีรสขมเฝื่อน
การขยายพันธุ์ของมะเกลือ
ใช้เมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะเกลือต้องการ
ประโยชน์ของมะเกลือ
- ผลดิบบดคั้นน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิ(จากการสัมภาษณ์และการจัดประชุมเสวนาผู้นำในท้องถิ่น)
- เนื้อไม้แข็งและหนัก ใช้ทำเครื่องมือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี
- ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี เป็น พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดสิงห์บุรี โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของมะเกลือ
- ผล ขับพยาธิในลำใส้ แต่มีพิษข้างเคียง อาจทำให้ตาบอดได้ ใช้ย้อยผ้าสีดำ
- เปลือกต้น ขับพยาธิ แก้กระษัย กันบูด เป็นยาเบื่อปลา
คุณค่าทางโภชนาการของมะเกลือ
การแปรรูปของมะเกลือ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9277&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com
3 Comments