มะเกลือ ประโยชน์และสรรพคุณ

มะเกลือ

มะเกลือ ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 8-15 เมตร  กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป ลำต้นเปลาตรงเรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่มเปลือกนอกสีดำแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ  ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือแกมขอบขนาน ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ก้านดอกยาว มีขนปกคลุม ผลแก่จัดสีดำ เมื่อแห้งเปลือกเปราะ ผลดิบมีรสขมเฝื่อน

มะเกลือ
มะเกลือ ลำต้นเปลาตรงเรือนยอดเป็นพุ่มกลม

การขยายพันธุ์ของมะเกลือ

การใช้เมล็ด

เป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีกับดินแทบทุกชนิดเหมาะที่จะปลูกในฤดูฝน ต้นมะเกลือนี้หากถ้าโดยแดดจัดจะทำให้ผลดกมาก แต่ใบไม่ค่อยงาม วิธีการปลูกให้เพาะกล้าเสียก่อนเช่นเดียวกันกับต้นไม้อื่นๆ แล้วนำเอาไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้

ประโยชน์ของมะเกลือ

  • ผลมะเกลือมีสีดำ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ย้อมผ้าหรือย้อมแห โดยจะให้สีดำ สีที่ได้จะเข้มและติดทนนาน (ผลสุก)
  • สีดำที่ได้จากผลมะเกลือยังสามารถนำมาใช้ทาไม้ให้มีสีดำเป็นมันในการฝังมุกโต๊ะและเก้าอี้ ช่วยทำให้มีลวดลายสวยงามและเด่นมากขึ้น
  • มีความละเอียดและแข็งแรงทนทาน สามารถนำมาใช้ทำเครื่องเรือนได้เป็นอย่างดี หรือจะใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี เครื่องประดับมุก เครื่องเขียน เฟอร์นิเจอร์ไม้มะเกลือ ตะเกียบก็ได้เช่นกัน
  • เปลือกนำไปปิ้งไฟให้เหลือง ใช้ใส่ผสมรวมกับน้ำตาล นำไปหมัก ก็จะได้แอลกอฮอล์หรือที่เรียกว่าน้ำเมานั่นเอง
  • เปลือกต้นมะเกลือใช้ทำเป็นยากันบูดได้
ผลมะเกลือ
ผลมะเกลือ ผลกลม ผลดิบมีรสเฝื่อน

สรรพคุณทางยาของมะเกลือ

ส่วนที่ใช้ : ราก, ผลมะเกลือสด โตเต็มที่และสีเขียวจัด (ห้ามใช้ผลสุกสีเหลืองหรือผลสีดำ)

  • ราก – ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม
  • ผลมะเกลือสดและเขียวจัด – เป็นสมุนไพรยอดเยี่ยมที่สุดในการถ่ายพยาธิ กำจัดตัวตืด หรือไส้เดือนตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิเข็มหมุด
  • เปลือกต้น ขับพยาธิ แก้กระษัย กันบูด เป็นยาเบื่อปลา
  • ลำต้นใช้ต้มกับน้ำอาบช่วยรักษาโรคดีซ่าน

วิธีและปริมาณที่ใช้

ผลสดโตเต็มที่และเขียวจัด จำนวนผลเท่าอายุแต่ไม่เกิน 25 ผล (คนไข้อายุ 40 ปี ใช้เพียง 25 ผล) ตำใส่กะทิ คั้นเอาแต่น้ำกะทิ ช่วยกลบรสเฝื่อน ควรรับประทานขณะท้องว่าง ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่ายใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป

สารเคมี – สารกลุ่มพีนอล ชื่อ diospyrol ซึ่งถูก oxidize ง่าย

ข้อควรระวัง

  1. ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำว่า 10 ขวบ หญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดใหม่ๆ และผู้ป่วยในโรคอื่นๆ
  2. ระวังอย่าให้เกินขนาด
  3. ถ้าเกิดอาการท้องเดินหลายๆ ครั้ง และมีอาการตามัวให้รีบพาไปพบแพทย์ด่วน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11870&SystemType=BEDO
https:// qsds.go.th
http:// blog.arda.or.th
https://www.flickr.com

Add a Comment