มะเนียงน้ำ
ชื่ออื่นๆ : ขล่ำปอง (ภาคเหนือ); จอบือ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร); จอหว่อปื่อ (ละว้า-เชียงใหม่); ปวกน้ำ (ลำปาง); โปตานา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี); มะเกียน้ำ, มะเนียงน้ำ, หมากขล่ำปอง (ภาคเหนือ)
ต้นกำเนิด :
ชื่อสามัญ : East Himalayan horse chestnut
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aesculus assamica Griff.
ชื่อวงศ์ : Sapindaceae (Hippocastanaceae)
ลักษณะของมะเนียงน้ำ
ต้น : ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ มีความสูง 15 – 20 เมตร เปลือกต้นเรียบ
ใบ : ใบ ประกอบเป็นแฉกรอบๆ เป็นใบย่อยปลายดี 6-7 ใบ ใบย่อยกลางมีขนาดโตกว่าใบย่อยข้างตามลำดับ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบรูปลิ่มขอบใบเรียบเส้นใบข้าง 18-24 คู่ ผิวใบย่อเป็นลอน
ดอก : ดอก ออกเป็นช่อยาว 30-60 ซม. อยู่ที่ปลายกิ่งโผล่ขึ้นเหนือใบเห็นได้เด่นชัด ดอกย่อยแต่ละดอกมีขนาด 2.5-3.0 ซม สีขาว มีสีเหลืองปนชมพู่ประตรงกลาง กลีบดอก 4 กลีรบ ขนาดไม่เท่ากันและคอดที่ฐาน
ผล : ผล ขนาดประมาณ 2.7 ซม สีน้ำตาลภายในมี 3 เสี้ยว และมีเมล็ดใหญ่ 1-3 เม็ด
การขยายพันธุ์ของมะเนียงน้ำ
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะเนียงน้ำต้องการ
ประโยชน์ของมะเนียงน้ำ
- ยอดอ่อน นำไปลวกกินจิ้มน้ำพริก
- เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน
- เปลือกต้นหรือราก ทุบแล้วนำไปแช่ในน้ำ เพื่อเบื่อปลา
สรรพคุณทางยาของมะเนียงน้ำ
- ผล นำมาฝนบนก้อนหิน แล้วเอามาทาบริเวณหน้าอกหรือ เต้านม แก้อาการปวดเต้านมที่น้ำนมไม่ไหล หรือทาฝีจะทำ ให้ยุบลง
- ใบคั้นหยอดตาแก้อักเสบ
คุณค่าทางโภชนาการของมะเนียงน้ำ
การแปรรูปของมะเนียงน้ำ
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11144&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th
https://www.flickr.com