มะเฟืองช้าง
ชื่ออื่นๆ : ฝักดาบ (จันทบุรี) เสียดกา (ปราจีนบุรี) เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี) ยมขาว (ภาคเหนือ) มะเฟืองต้น, มะเฟืองช้าง, ยมหิน, สะเดาหิน, สะเดาช้าง (ภาคกลาง) ช้ากะเดา (ภาคใต้) มะยมหลวง (ไทใหญ่) โค้โย่ง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ริ้งบ้าง, รี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ลำชา (ลั้วะ) ตุ๊ดสะเต๊ะ (ขมุ)
ต้นกำเนิด : ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป
ชื่อสามัญ : ยมหิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chukrasia tabularis A.Juss
ชื่อวงศ์ : MELIACEAE
ลักษณะของมะเฟืองช้าง
ต้น ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวยต่ำ ๆ เปลือก สีน้ำตาลคล้ำ สีเทา หรือเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น และมีรูระบายอากาศทั่วไป
ใบ ประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อยออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบย่อยรูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบเกลี้ยง
ดอก ดอกเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตาม ปลายกิ่ง ออกดอกเดือนพฤศจิกายน-เดือนกุมภาพันธ์
ผล ผลเล็ก กลมรี ๆ แข็ง สีน้ำตาลอมม่วง
การขยายพันธุ์ของมะเฟืองช้าง
การเพาะเมล็ด
ธาตุอาหารหลักที่มะเฟืองช้างต้องการ
ประโยชน์ของมะเฟืองช้าง
- ผลสุกใช้รับประทานได้
- เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง เป็นมันละเอียด ไสกบตกแต่งง่าย ชักเงาได้ดี ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน ทำเสา ขื่อ รอด ตง กระดาน ทำเครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือ และไม้อัด
- ส่วนประโยชน์ด้านอื่น ๆ เช่น การนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง ใช้ในงานศิลปะ และใช้เป็นสมุนไพร
- ต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่ เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537
สรรพคุณทางยาของมะเฟืองช้าง
- เปลือกจากเนื้อไม้ใช้ผสมเป็นยาปรุงแก้ไข้เปลี่ยนฤดู หนาว ๆ ร้อน ๆ ไข้จับสั่น (เปลือกจากเนื้อไม้)
- เปลือกใช้เป็นยาสมานแผล
คุณค่าทางโภชนาการของมะเฟืองช้าง
การแปรรูปของมะเฟืองช้าง
แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9569&SystemType=BEDO
www.dnp.go.th
www.ecoforest.phsmun.go.th
www.flickr.com