มะเฟือง ผล ยอดอ่อน ใบอ่อน รับประทานได้ ออกผลตลอดปี

มะเฟือง

ชื่ออื่นๆ : มะเฟืองส้ม (สกลนคร) มะเฟืองเปรี้ยว, สะบือ, เฟือง

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Carambola

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Averrhoa carambola Linn.

ชื่อวงศ์ : AVERRHOACEAE

ลักษณะของมะเฟือง

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดยืนต้นขนาดกลาง ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ซึ่งมีทั้งลักษณะตั้งตรง และกึ่งเลื้อย มีลำต้นเปลือกของลำต้นค่อนข้างขรุขระมีตุ่มเล็กๆ ทั่วไป ลำต้นและกิ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน เป็นสีน้ำตาลอ่อน แกนกลางมีไส้คล้ายฟองน้ำมีสีแดงอ่อน

ใบ ใบประกอบแบบขนนกออกเรียงกันเป็นคู่ๆ ไปตามแผง แผงหนึ่งมี 7-15 คู่ ลักษณะของใบย่อย ใบย่อย 5-11 ใบ เป็นรูปมนรีขอบขนานแกมใบหอก ปลายใบแหลม ริมขอบใบเรียบเกลี้ยง ใบย่อยตรงปลายมักมีขนาดใหญ่กว่าใบตรงโคนแผง

ดอก ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามบริเวณกิ่งและลำต้น ดอกมีสีม่วงอ่อนจนถึงเกือบแดง เป็นดอกขนาดเล็ก

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปเฟืองมีกลีบอยู่ 5 กลีบ เมื่อยังอ่อนผลเป็นสีเขียว แต่พอผลสุกหรือแก่เต็มที่ ผลก็เปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ผลสดอวบน้ำมีสันโดยรอบผ่าตามขวางเป็นรูปดาว เมล็ดมีสีดำยาวเรียวยาวประมาณ 5 มม. ออกผลในช่วงเดือนกันยายน

มะเฟือง
มะเฟือง ใบประกอบแบบขนนกออกเรียงกันเป็นคู่ ดอกมีสีม่วงอ่อนจนถึงเกือบแดง
ผลมะเฟือง
ผลมะเฟือง ผลเป็นรูปเฟืองมีกลีบอยู่ 5 กลีบ

การขยายพันธุ์ของมะเฟือง

ใช้เมล็ด/ขยายพันธ์ส่วนใหญ่จะใช้ เมล็ด เพาะกล้าไม้ และ การตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่มะเฟืองต้องการ

ประโยชน์ของมะเฟือง

ส่วนที่ใช้รับประทาน ผล ยอดอ่อน ใบอ่อน
ผล ใช้ยำเป็นเครื่องปรุงรส รับประทานกับแหนม ใบอ่อนรับประทานกับ ลาบ ก้อย ผล ใช้ยำเป็นเครื่องปรุงรส รับประทานกับแหนม ใบอ่อนรับประทานกับ ลาบ ก้อย

ผลมะเฟือง : ให้วิตามินเอ และวิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม

สรรพคุณทางยาของมะเฟือง

  • ใบและราก : ปรุงรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน แก้ไข้ ใช้ใบต้มน้ำอาบแก้ตุ่มคัน,
  • ผล : ใช้เป็นยาขับเสมหะ ขับปัสสาวะ ใช้สระบำรุงเส้นผม และขจัดรังแค, ยอด : มะเฟือง+รากมะพร้าว ต้มผสม แก้ไข้หวัดใหญ่ , แก่นและราก : ต้มกินแก้ท้องร่วง แก้เจ็บเส้นเอ็น

ใน มะเฟืองหนึ่งผลนั้น สามารถที่จะช่วยเสริมสร้างกระดูก และฟันให้แข็งแรง ควบคุมการเต้นของหัวใจให้สม่ำเสมอ ควบคุมกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดแข็งตัวง่าย กล่อมประสาท ช่วยระงับความฟุ้งซ่าน จึงช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น ในผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ ส่วนน้ำมะเฟืองคั้นนั้น ตำรายาโบราณกล่าวว่า มีสรรพคุณในการแก้ร้อนในดับกระหาย ลดความร้อนภายในร่างกาย ถอนพิษไข้ก็ได้ เป็นยาขับเสมหะป้องกันโรคโลหิตจาง โรคเลือดออกตามไรฟัน รวมทั้งยังช่วยขับปัสสาวะ และบรรเทาอาการนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้อีกด้วย

ข้อควรระวัง มีประจำเดือนห้ามกิน ตกขาว ถ้าตั้งครรภ์กินเข้าไปทำให้แท้ง

คุณค่าทางโภชนาการของมะเฟือง

การแปรรูปของมะเฟือง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11117&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

4 Comments

Add a Comment