มะแฟน ผลสุกสีแดง มีรสเปรี้ยวอมหวาน

มะแฟน

ชื่ออื่นๆ : กะตีบ กะโปกหมา (ประจวบคีรีขันธ์) ค้อลิง (ชัยภูมิ) ปี (เหนือ) ผี พีเซ ฟีแซ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) แฟนส้ม (เลย) มะตรี สัพะตรี (เขมร-จันทบุรี) ส้มแป้น (นครราชสีมา)

ต้นกำเนิด : พบตามบริเวณป่าเบญจพรรณทั่วไป

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Protium serratum (Wall.) Engl

ชื่อวงศ์ : BURSERACEAE

ลักษณะของมะแฟน

ต้น  เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ผลัดใบ สูง 10-25 เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดโต ๆ เรือนยอดค่อนข้างทึบ

ใบ เป็นช่อแบบขนนก ช่อใบติดเรียงสลับ แต่ละแขนงจะมีใบย่อย 3-11 ใบ ติดตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ยกเว้นใบยอดช่อจะเป็นใบเดี่ยว ทรงใบรูปรี หรือรูปแกนขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 6-13 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบหยักคอดเป็นติ่ง เนื้อใบหนา ใบแก่เกลี้ยง จะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐหรือสีแสด ขอบใบอ่อนหยัก เป็นฟันเลื่อย ส่วนใบแก่มักเรียบ หรือเป็นคลื่นห่าง ๆ

ดอก เล็กสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อโต ๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ในแต่ละช่อจะมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศ และดอกแยกเพศ โคนกลีบรองกลีบดอกติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ ปลายแยกเป็นแฉกเล็ก ๆ 5 แฉก กลีบดอก มี 5 กลีบ มีขนด้านนอก เกสรผู้มี 10 อัน

ผล ค่อนข้างกลม เป็นปุ่มปม 2-4 พู วัดผ่าศูนย์กลางได้ 1-2 ซม. ผลสุกสีแดงเนื้อนุ่ม

ผลมะแฟน
ผลมะแฟน ผลกลม เมื่อสุกผลสีแดง เนื้อนุ่ม

การขยายพันธุ์ของมะแฟน

ใช้เมล็ด/โดยการเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่มะแฟนต้องการ

ประโยชน์ของมะแฟน

เนื้อไม้เหนียว เลื่อยผ่าไสกบตกแต่งง่าย ใช้ทำเสา กระดานพื้น ฝา ฝ้า เพดานทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ทางการเกษตร วงกบ ประตูหน้าต่าง ผลสุกมีรสเปรี้ยวอมหวาน

สรรพคุณทางยาของมะแฟน

ราก ใช้รากสด หรือแห้ง นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้พิษซาง แก้ไข้ และเป็นยาถอนพิษต่าง ๆ

คุณค่าทางโภชนาการของมะแฟน

การแปรรูปของมะแฟน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10211&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment